การประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ จากการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอในกิจการส่งออกขนาดย่อม เพื่อการจัดการทางการยศาสตร์

Main Article Content

สุดารัตน์ บุญหล้า
สุนิสา ชายเกลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน (Work- Related Musculoskeletal disorders: WMSDs) ในพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอในกิจการส่งออกขนาดย่อมเพื่อเสนอแนวทางการจัดการทางการยศาสตร์ในการลดความเสี่ยงต่อ WMSDs เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ที่ใช้แบบสอบถามประเมินความรู้สึกไม่สบายของร่างกายจากการทำงาน ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยสังเกตท่าทางการทำงานใช้แบบประเมินทั้งร่างกาย (REBA) สำหรับงานยืนและแบบประเมินรยางค์ส่วนบน (RULA) สำหรับงานนั่ง วัดความล้าสายตา และวัดความเข้มของแสงสว่างในงานที่มีการสายตาเพ่งชิ้นงาน ประเมินความเสี่ยงต่อ WMSDs โดยใช้เมตริกการประเมินความเสี่ยงที่พิจารณาระดับความรุนแรงของความรู้สึกไม่สบาย ร่วมกับระดับโอกาสสัมผัสปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อ WMSDs ตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 62.79 คือ ระดับปานกลางร้อยละ 30.23 ระดับสูงร้อยละ 23.26 และระดับสูงมากร้อยละ 9.30 โดยเฉพาะบริเวณ ไหล่ ร้อยละ 51.16 คอ ร้อยละ 44.91 และน่อง ร้อยละ 34.85 พนักงานมีความล้าสายตาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 22.58 และพบว่าแผนกเย็บจักรมีความเข้มของแสงสว่างไม่ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 35.48 จากผลความเสี่ยงโดยเมตริกความเสี่ยงนี้ ได้แนวทางการจัดการทางการยศาสตร์ สำหรับพนักงานที่มีความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป คือให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ตามลักษณะงาน ออกแบบเก้าอี้สำหรับแผนกเย็บพ้ง ออกแบบที่พักเท้าสำหรับแผนกทอมือ แผนกตรวจสอบคุณภาพ แนะนำการปรับปรุงแสงสว่างให้เหมาะสมสำหรับแผนกเย็บจักร และการเฝ้าระวัง WMSDs บริเวณคอ ไหล่ และหลังส่วนล่าง อาศัยการประเมินความเสี่ยงด้วยเมตริกความเสี่ยงที่ได้นี้ทุก 6 เดือน เพื่อป้องกันโรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. (2561). ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563, จาก http://osh.labour.go.th/index.php?option=com
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2545). กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563, จาก https://jla.coj.go.th/th/file/get/file/20200313a30.pdf
กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). สถิติสะสมโรงงานปี 2562. ค้นเมื่อ 11 ต.ค. 2563, จาก https://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss62
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี2561. ค้นเมื่อ
1 เมษายน 2563, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/790.
จุรีภรณ์ แก้วจันดา, และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตเยื่อและระดาษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(1), 72-85
จันทิมา ดรจันทร์ใต้, และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. วารสารสาธารณสุข. 29(2), 138-150.
ชมพูศักดิ์ พูลเกษ. (2534). การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวัดความเมื่อยล้าในการทำงานซ้ำซากใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: การฝึกปฏิบัติงานอาชีวอนามัยและเออร์กอนอมิคส์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธยา ภิรมย์, และพันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์. (2555). การศึกษาความเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานของพนักงานเย็บใน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการประจำปี 2555, เพชรบุรี, 608-617.
สุขสรร ศิริสุริยะสุนทร, และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2558). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และการปวดคอ ไหล่ หลัง ในเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 8(3), 54-63.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, และวิภารัตน์ โพธิ์ขี. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ปัจจัยเสี่ยงความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, และวรวรรณ ภูชาดา. (2559). ประสิทธิผลของการปรับปรุงโปรแกรมตามหลักการยศาสตร์ในพนักงานศูนย์บริการข้อมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร. 31(5), 325-331.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, และอาริยา ปานนาค. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2(47), 1-10.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, อาริยา ปานนาค, และนภานันท์ ดวงพรม. (2559). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติของรยางค์ส่วนบนในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 31(2), 202-209.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
องุ่น สังขพงษ์, กลางเดือน โพชนา และวรพล เอื้อสุริตวงศ์ (2556). การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า : กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปอาหารทะเลแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการพระนครเหนือ. 23(3), 654-663.
อรณิชา ยมเกิด, ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา, และนิวิท เจริญใจ. (2558). การปรับปรุงท่าทางการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมตีมีดด้วยหลักการยศาสตร์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 22(3), 10-20.
Berbergulu Ufuk and Tokuc Burou. (2013) Work related musculoskeletal disorders at two-textile factories in Edrine, Turkey. Balkan Med J, 30(1), 23-27.
Chaiklieng S., (2019). Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE 2019, 14 (12): e0224980.

Chaiklieng S. and Homsombat T., (2020). Incidence and postural risk factors for low back pain among informal garment female workers. AHFE 2019, 222-230.

Chaiklieng S., Suggaravetsitri P. and Puntumetakul R. (2014). Prevalence and risk factors for work-relatedShoulder pain among informal garment workers in the northeast of Thailand. Small enterprise research, 21(2), 180-190.

Chaiklieng S., and Suggaravetsitri P., (2020). Low back pain (LBP) incidence, ergonomics risk and worker’s characteristics in relations to LBP in electronics assemble manufacturing. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine, 24(3), 183-187.

Hignett, S., and McAtamney, L. (2000). Rapid Entire Body Assessment (REBA) in the health care industry. In: IEA’97 Proceedings of the 13th Triennial Congress of the International Ergonomics Association FIOH. Tampere, Finland, 4, 162-164.
McAtamney, L., & Corlett, E.N. (1993). RULA: a survey method for the investigation of work- related upper limb disorders. Appl. Ergonomics. 24(1993), 91-99.

Polat O. and Kalayci C. (2016). Ergonomic risk assessment of workers in garment industry. In Textile Science and Economy V III. 8th International Scientific Professional Conference, Serbia. 124-129.

Shazzad N., Ahmed S., Haq S. A., Islam N., Shahin A., Choudhury M. R., et al. (2018). Musculoskeletal symptoms and disorders among 350 garment workers in Bangladesh: A cross sectional pilot study. Int j Rheum Dis. 21, 2063-2070.

Yahya N M and Zahid M N O. (2018). Work-related musculoskeletal disorders (WMDs) risk assessment at
core assembly production of electronic components manufacturing company. IOP Publishing.
319., 1-7.