ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 291 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มอย่างง่าย จากประชากร 1,659 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มกราคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุโลจิสติก พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI)


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียด ร้อยละ 44.67 (95 % CI: 40.23 to 60.77) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (OR adj. =3.26; 95 % CI: 1.43 to 7.42; p-value = 0.005) และ   การเป็นหนี้ (OR adj. =3.71; 95 % CI: 2.24 to 6.16; p-value = <0.001) ตามลำดับ 


ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดอบรมให้ความรู้ด้านกายศาสตร์และการลดความเครียดจากการทำงานเพื่อส่งเสริมการทำไร่อ้อยที่ปลอดภัยรวมถึงการหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). กรมสุขภาพจิต เผย “ ปัญหาเครียด” ครองแชมป์ปรึกษาสายด่วน 1323 ในปี 60 แนะคนทำงานใช้ 10 วิธีลดปัญหา!!. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563, จาก http://www.prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต/994-กรมสุขภาพจิต-เผย-“-ปัญหาเครียด”-ครองแชมป์ปรึกษาสายด่วน-1323-ในปี-60-แนะคนทำงานใช้-10-วิธีลดปัญหา.html
กาญจนา ปินตาคำ,พิณัฏฐิณีย์ จิตคำและธนพนธ์ คำเที่ยง.(2562). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของเกษตรกรชาวนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 21(1). 49-53.
ณัฏฐพร ประดิษฐพจน์, สันทณี เครือขอน, กาญจนา ควรพึ่ง, นรัฐ ปัญญาศักดิ์และสุชาติ ทองอาจ. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานขนผลไม้ จังหวัดปทุมธานี.ธรรมศาสตร์เวชสาร, 17(1). 60-69
นาตยา ดวงประทุม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของแรงงานภาคเกษตรกรรมในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น.755).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล,วัณทนา ศิริธราธิวัตร,ยอดชาย บุญประกอบ,วิชัย อึงพินิจพงศ์และมณเฑียร พันธุเมธากุล.(2554). ความชุกของภาวะความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนา: กรณีศึกษาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด,23(3). 297-303.
วงศกร อังคะคำมูล. (2562) การศึกษาปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยในเกษตรกร: ทบทวนวรรณกรรม แนวคิดด้านอาชีวอนามัยและแนวคิดด้านสังคมศาสตร์. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี , 2(1). หน้า 53-65.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม.(2557). คู่มือการจัดการไร่อ้อยอย่างยั่งยืน.ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. จากhttp://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/144-4003.pdf
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.(2562). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2561/62. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563, จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9040.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสถิติจังหวัดมหาสารคาม:เกษตรและประมง. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563, จาก http://mahasarakham.nso.go.th/images/documents/Report2562/11.agriculture%20and%20fishery%20statistics.pdf
อรชร ฉิมจารย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 17(2). หน้า 230-242.
Booth, N. J., & Lloyd, K. (2000). Stress in Farmers. International Journal of Social Psychiatry, 46(1), 67–73. https://doi.org/10.1177/002076400004600108