ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์
ปณิตา วงค์ษามิ่ง
รุ่งนภา แสงแดง
ปภาวดี จโนภาส
ภัทราพร ตันนุกูล
เมทินี แสงเมือง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 291 คน สุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มตัวอย่าง 1,659 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุโลจิสติก  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดระดับมากถึงมากที่สุด ถึงร้อยละ 18.21  (95 % CI: 13.75 - 22.67) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ได้แก่ ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (AOR  =2.95; 95 % CI: 1.43 - 7.4) (p-value = 0.005) และการมีหนี้สิน (AOR =2.04; 95 % CI: 1.24 - 3.84) (p-value = 0.027) ตามลำดับ  ข้อเสนอแนะคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดอบรมเพื่อฝึกทักษะด้านการจัดท่าทางการทำงานและการบริหารร่างกายเพื่อลดปัญหาระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงาน รวมถึงหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เป็นหนี้สินเพื่อลดความเครียด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปินตาคำ, พิณัฏฐิณีย์ จิตคำ, และธนพนธ์ คำเที่ยง. (2562). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของเกษตรกรชาวนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(1), 49-53.

กรมสุขภาพจิต. (2561). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/report/dmh/rpt_year/view.asp?id=410.

กรมสุขภาพจิต.(2561). แบบทดสอบด้านสุขภาพจิต (Mental Health Testing Scale). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/test/qtest5/.

ณัฏฐพร ประดิษฐพจน์, สันทณี เครือขอน, กาญจนา ควรพึ่ง, นรัฐ ปัญญาศักดิ์, และสุชาติ ทองอาจ. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานขนผลไม้ จังหวัดปทุมธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 17(1), 60-69.

ธีรศักดิ์ พาจันทร์. (2557). การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานของคนทำไร่อ้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นาตยา ดวงประทุม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของแรงงานภาคเกษตรกรรมในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, 755-763.

นิภาพร ศรีวงษ์, และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2556). ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำไร่อ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 14-22.

รัตนาภรณ์ อาษา, กฤติเดช มิ่งไม้, จิตสุภา พาแกด, อภิสรา มุสิกาวัล, และนิตยาวรรณ เจริญขำ . (2560). ภาวะสุขภาพของเกษตรกรไร่อ้อยในตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม ปี 2560, 1823-1829.

รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, วิชัย อึงพินิจพงศ์, และมณเฑียร พันธุเมธากุล. (2554). ความชุกของภาวะความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนา: กรณีศึกษาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 23(3), 297-303.

วงศกร อังคะคำมูล. (2562). การศึกษาปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยในเกษตรกร: ทบทวนวรรณกรรม แนวคิดด้านอาชีวอนามัยและแนวคิดด้านสังคมศาสตร์. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(1), 53-65.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2562). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2561/62. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563, จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9040.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสถิติจังหวัดมหาสารคาม:เกษตรและประมง. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2563,จากhttp://mahasarakham.nso.go.th/images/documents/ Report2562/11. agriculture%20and%20fishery%20statistics.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2557). คู่มือการจัดการไร่อ้อยอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563. จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/ fileupload/144-4003.pdf.

อรชร ฉิมจารย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 17(2), 230-242.

Booth, N. J., & Lloyd, K. (2000). Stress in Farmers. International Journal of Social Psychiatry, 46 (1), 67–73.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-1634. doi: https://doi.org/ 10.1002/(SICI)1097-0258(19980730)17:14<1623::AID-SIM871>3.0.CO;2-S.