ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง

บทคัดย่อ

  การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ พื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 498 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติถดถอยแบบพหุโลจิสติก


        ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเพียงพอ ร้อยละ 53.21 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วย ประกอบด้วย ระดับการศึกษา (p-value <0.001) และ ทัศนคติ (p-value = 0.028) ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.  และอนุปริญญา/ปวส. ขึ้นไป มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอมากกว่าระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า เป็น 3.61 เท่า (AOR=3.61, 95%CI=2.43 – 5.38), 3.49 เท่า (AOR=3.49, 95%CI=1.48 – 8.21) และ 2.15 เท่า (AOR=2.15, 95%CI=1.02-4.53) ตามลำดับ และ ผู้ป่วยที่มีทัศนคติในระดับสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยที่มีทัศนติในระดับปานกลาง เป็น 4.51 เท่า (AOR=4.51, 95%CI=1.18-17.26) ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติตัวเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ควรพิจารณาถึงทัศนคติที่ถูกต้องต่อการเจ็บป่วยและระดับการศึกษาของผู้ป่วย เพื่อจะได้จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถนำไปดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562 : จาก https://www.moph.go.th/.
นิศารัตน์ อุตตะมะ และ เกษแก้ว เสียงเพราะ (2562). ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 75-85.
นงลักษณ์ แก้วทอง, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช และขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2557). ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมรานีกรุงเทพ, 30(1), 45-56.
บัณฑิต ถิ่นคำรพ. (2543). คู่มือปฏิบัติการชีวสถิติ สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง. ภาควิชาสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภาส ขำมาก สมรัตน์ ขำมาก และ มาลิน แก้วมูณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(3), 74-91.
พิชญา เปรื่องปราชญ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปลาร้า บ้านนิคมพัฒนา จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.
ศุภศิษฏ์ อรุณรุ่งสวัสดิ. (2558). แอนโทไซยานิน สารพฤกษเคมีต้านโรคเบาหวาน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 21(4), 666-677.
ศุภกร ไวว่องกิจการ และคณะ. (2561). ความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการครั้งที่ 34 ประจำปี 2561.
สมสุข ภาณุรัตน์, พรพรรณ ภูสาหัส, สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล, พัชรี กระจ่างโพธิ์, วิถี ธุระธรรม และภาสกร เนตรทิพย์วัลย์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 11(1), 86-94.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. สืบค้นสืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562: จาก http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?gid=18&id=13507.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครราชสีมา. (2562). รายงานผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD). สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562 : จาก https://www.hosthai.com/00222/.
สมรัตน์ ขำมาก. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 153-169.
อร่าม อามีเราะและ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2561). ความรู้และทัศนคติที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 37(1), 38-49.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Hsieh, H. F. (2003). Effect of reminiscence therapy on depression in older adults: A systematic review. International Journal Nursing Study, 40(4), 335-345.
Kiess, Harold O. (1989). Statistic concept for behavior sciences. Biston : Allyn and Bacon Inc.
Nutbeam D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International,15(3):259-67.
World Health Organization. (2009). Health literacy and health promotion. definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. 7th Global conference on health promotion promoting health and development. Nairobi, Kenya.