ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพ และ2)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 498 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติถดถอยแบบพหุโลจิสติก
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเพียงพอ (ร้อยละ 53.21) และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยประกอบด้วย ระดับการศึกษา และ ทัศนคติ ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และอนุปริญญา/ปวส.ขึ้นไปมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอมากกว่าระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าเป็น 3.61, 3.49 และ 2.15 เท่า ตามลำดับ และ ผู้ป่วยที่มีทัศนคติในระดับสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยที่มีทัศนติในระดับปานกลาง เป็น 4.51 เท่า ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติตัวเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนควรพิจารณาถึงทัศนคติที่ถูกต้องต่อการเจ็บป่วยและระดับการศึกษาของผู้ป่วย เพื่อจะได้จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถนำไปดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.moph.go.th/.
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, และ นรีมาลย์ นีละไพจิตร. (2558). การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย, และ วรรณี เดียวอิศเรศ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง:การทบทวนวรรณกรรมเชิงบูรณาการ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 31(1), 17-26.
ทัชชญา นิธิศบุณยกร. (2558). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
นิศารัตน์ อุตตะมะ, และ เกษแก้ว เสียงเพราะ. (2562). ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา. 42(2), 75-85.
นงลักษณ์ แก้วทอง, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, และ ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2557). ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมรานีกรุงเทพ. 30 (1), 45-56.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด.
บุณยนุช บานเย็น, และวารุณี สุดตา. (2563). การรับรู้ภาวะหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะขามล้ม จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 13(1), 93-101.
ประภาส ขำมาก, สมรัตน์ ขำมาก, และ มาลิน แก้วมูณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2(3), 74-91.
ปวิตรา ทองมา. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 13(1), 50-62.
เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์. 8(1), 45-58.
รณยศ สุวรรณกัญญา, และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วยในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(3), 66-74.
วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 44(3), 183-197.
วีระพงษ์ เรียบพร และ พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(2), 45-61.
ศุภกร ไวว่องกิจการ, และคณะ. (2561). ความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 33(Supplement), 89-90.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครราชสีมา. (2562). รายงานผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD). สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.hosthai.com/00222/.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php? gid= 18 &id=13507.
อร่าม อามีเราะ, และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2561). ความรู้และทัศนคติที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 37(1), 38-49.
เอกชัย ชัยยาทา, ลภัสรดา หนุ่มคํา, และ ณิชมน รักกะเปา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(1), 182-196.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 17(14), 1623-1634.
Kiess, H.O. (1989). Statistic concept for behavior sciences. Biston: Allyn and Bacon Inc.
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 15(3), 259-67.
Fu, S., Dao, M., Wong, C., & Cheung, B. (2020). The association of health literacy with high-quality home blood pressure monitoring for hypertensive patients in outpatient settings. International Journal of Hypertension. 2020, 1-15.
Shi, D., Li J., Wang, Y., Wang, S., Liu, K., Shi, R., Zhang, Q., & Chen, X. (2017). Association between health literacy and hypertension management in a Chinese community: a retrospective cohort study. Internal and Emergency Medicine. 12(6), 765-776.
World Health Organization. (2009). Health literacy and health promotion. definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. Retrieved August 24, 2019, from https://www.who.int/healthpromotion/conferences/7gchp/ Track1_Inner.pdf.