ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านอาชีวอนามัย และการบาดเจ็บจากการทำงาน: กรณีศึกษาพนักงานจัดเรียงสินค้า

Main Article Content

อารยา เชียงของ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจมูลเหตุของการมีความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันโรค และการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ ในมุมมองของผู้ประกอบอาชีพพนักงานจัดเรียงสินค้า ที่มีความรอบรู้ทางสุขภาพในระดับสูง ประเมินจากแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการศึกษาเฉพาะกรณีเชิงคุณภาพทั้งนี้  ผู้วิจัยเลือกสนามวิจัยในการศึกษาเป็นห้างสรรพสินค้าจำนวน 4 แห่ง ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 ราย เป็นผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการที่มีการจัดเรียงสินค้า ทำหน้าที่ยกสินค้า จัดเรียงสินค้า ปฏิบัติงานโดยใช้เครื่องจักรช่วยเคลื่อนย้ายสินค้าขนาดใหญ่ อาการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพที่ผู้ให้ข้อมูลมีประสบการณ์กับตนเอง และเพื่อนร่วมงานคืออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการปวดหลังส่วนล่าง และอุบัติเหตุตกจากที่สูง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า มูลเหตุที่สนับสนุนให้บุคคลมีความรอบรู้สุขภาพระดับสูงแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1  มูลเหตุจากผู้ประกอบอาชีพ ได้แก่ ประสบการณ์ของการบาดเจ็บจากการทำงานผลักดันให้ค้นหาความรู้ , ความรู้สนับสนุนให้มั่นใจในการสื่อสารและคิดวิเคราะห์,  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนในการค้นหาข้อมูล  กลุ่มที่ 2 มูลเหตุจากสิ่งแวดล้อม ในสถานประกอบการ ได้แก่ การสื่อสารความเสี่ยงสร้างแรงจูงใจให้ใส่ใจการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ,  การฝึกอบรมของสถานประกอบการเพิ่มความรู้อละโอกาสในการตรวจสอบข้อมูล การศึกษานี้ทำให้เกิดความเข้าใจถึงมูลเหตุที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบอาชีพมีความรอบรู้ทางสุขภาพในระดับสูง โดยองค์ความรู้ที่ได้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพต่อไป  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม และ นุชนาฏ สุทธิ . (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร ,25(3) ,280 – 295
ชนิภา ยอยืนยง, นลิณี เชยกลิ่นพุฒ และ อารยา เชียงของ. (2562). ความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ ของกลุ่มวัยทำงาน เขตกรุงเทพมหานคร: การพัฒนา และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด.วารสารเกื้อการุณย์, 26(2),7-21
วรวิทย์ เจริญเลิศ และคณะ. (2557). โครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน กรณีศึกษา ผลกระทบต่อแรงงานที่มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำ งานของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมคลังสินค้า ธุรกิจค้าปลีก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อารยา เชียงของ, พัชรี ดวงจันทร์ และ อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่: ประสบการณ์ของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและมุมมอง ที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุขภาพ. วารสารเกื้อการุณย์, 24(2),162-178
Andersen, L. L., Clausen, T., Burr, H., & Holtermann, A. (2012). Threshold of musculoskeletal pain intensity for increased risk of long-term sickness absence among female healthcare workers in eldercare. PLoS One, 7(7), e41287.
Brach, C. et al. (2012). Attributes of a health literate organization. New York: New York University, Institute of Medicine.
Bronfenbrenner U. (1979). The Ecology of human development: experiments by nature and design. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Chen, Yehle, Albert, Ferraro, Mason, Murawski and Plake. (2014). Relationships between health literacy and heart failure knowledge, self-efficacy, and self-care adherence. Res Social Adm Pharm. 2014 ; 10(2): 378–386. doi:10.1016/j.sapharm.2013.07.001.
Dellve, L., Skagert, K., & Vilhelmsson, R. (2007). Leadership in workplace health promotion projects: 1- and 2- year effects on long-term work attendance. European Journal of Public Health, 17(5), 471-476.
Devraj, R., Herndon, C. M., & Griffin, J. (2013). Pain awareness and medication knowledge: A health literacy evaluation. Journal of Pain & Palliative Care Pharmacotherapy, 27(1), 19-27.
George, S. Z., Fritz, J. M., Bialosky, J. E., & Donald, D. A. (2003). The effect of a fear-avoidance-based physical therapy intervention for patients with acute low back pain: Results of a randomized clinical trial. Spine, 28, 2551-2560.
Gray, K. M. (2018). From content knowledge to community change: A review of representations of environmental health literacy. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15, 466.
Güner MD and Ekmekci PE. (2019). Health Literacy Level of Casting Factory Workers and Its Relationship With Occupational Health and Safety Training. Workplace Health Saf. 67(9):452-460. doi: 10.1177/2165079919843306.
Holtermann, A., Clausen, T., Aust, B., Mortensen, O. S., & Andersen, L. L. (2013). Does occupational lifting and carrying among female health care workers contribute to an escalation of pain-day frequency? European Journal of Pain, 17(2), 290-296.
Infanti, J., Sixsmith, J., Barry, MM., Núñez-Córdoba, J., Oroviogoicoechea-Ortega, C., & GuillénGrima, F. (2013). A literature review on effective risk communication for the prevention and control of communicable diseases in Europe. Stockholm: ECDC.
Lipcomb, H., Kucera, K., Epling, C., & Dement, J. (2008). Upper extremity musculoskeletal symptoms and disorders among a cohort of women employed in poultry processing. American Journal of Industrial Medicine, 51(1), 24-36.
Manganello and Graham. (2017). The Relationship of Health Literacy With Use of Digital Technology for Health Information: Implications for Public Health Practice, Journal of Public Health Management & Practices JPHMP 23(4) ,380-387 DOI: 10.1097/PHH.0000000000000366
McDonald, M., DiBonaventura, M. D., & Ullman, S. (2011). Musculoskeletal pain in the workforce: The effects of back, arthritis, and fibromyalgia pain on quality of life and work productivity. Journal of Occupational and Environmental Medicine, 53(7), 765-770.
McLeroy KR, Bibeau D, Steckler A, Glanz K. An ecological perspective on health promotion programs. Health education quarterly1988; 15: 351-77
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine.; 67(12):2072-78.
Sorensen, K. et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12, 80.
Sorensen, K., & Brand, H. (2011). Health literacy—A strategic asset for corporate social responsibility in Europe. Journal of Health Communication, 16(Suppl 3), 322-327.
Sterud, T., Johannessen, H. A., & Tynes, T. (2014). Work-related psychosocial and mechanical risk factors for neck/shoulder pain: A 3-year follow-up study of the general working population in Norway. International Archives of Occupational and Environmental Health, 87(5), 471-481.
Wong, B. K. (2012). Building a health literate workplace. Workplace Health & Safety, 60, 363-369.
Wynne-Jones, G. et al. (2011). What happens to work if you’re unwell? Beliefs and attitudes of managers and employees with musculoskeletal pain in a public sector setting. Journal of Occupational Rehabilitation, 21(1), 31-42.