ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

ยุวยงค์ จันทรวิจิตร
ปภาดา รักมีศรี
วราภรณ์ บุญเชียง
นุชยงค์ เยาวพานนท์
ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรในเขตภาคเหนือ จำนวน 546 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.0 ทดสอบความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคโดยรวมเท่ากับ 0.78 (รายด้านมีค่าระหว่าง 0.80-0.88) และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยแบบเชิงชั้น


     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51.30) อายุเฉลี่ย 53.53 ปี (ร้อยละ 72.00) จบชั้นประถมศึกษา มีการรับรู้ความเสี่ยงในระดับปานกลาง การรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้ประโยชน์ในระดับมาก  การรับรู้อุปสรรคในระดับน้อย และมีสิ่งกระตุ้นการปฏิบัติในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชโดยรวมเฉลี่ยในระดับดี  ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค  เพศหญิง และรายได้


     ดังนั้น ควรมีการให้ความรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ โดยเน้นความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช การสร้างความเข้าใจและปรับการรับรู้เกี่ยวกับอุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จากhttp://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/ 2561/2561_01_envocc_ situation.pdf)

ทวีรัตน์ เฟสูงเนิน, วิโรจน์ จันทร, สรัญญา ถี่ป้อม, และ สมชาย สวัสดี. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ทำนา ตำบลเสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(33), 26-36.

น้ำเงิน จันทรมณี. (2560). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและประสิทธิผลของการให้อาชีวศึกษาที่มีผลต่อความรู้ทางด้านความปลอดภัยของเกษตรกรพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดพะเยา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 10(37), 35-45.

บัวทิพย์ แดงเขียน, พิมพรรณ รัตนโกมล, อัศวเดช สละอวยพร, และ มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกําาจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(7), 107-122.

วิชชาดา สิมลา, และตั้ม บุญรอด. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในตําบล แหลมโตนด อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(2), 103-113.

วิภาดา กระตุดนาค, สายัณต์ แก้วบุญเรือง, และบุญร่วม แก้วบุญเรือง. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 2(2), 96-105.

ศิริพร สมบูรณ์, ทัศนีย์ รวิวรกุล, ยุวดี วิทยพันธ์, และศิปภา ภุมมารักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 25(3); 1-13.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ข้อมูลนำเข้าสารฆ่าแมลงและวัชพืช. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา.

Anang, B. T., & Amikuzuno, J. (2015). Factors influencing pesticide use in smallholder rice production in Northern Ghana. Agriculture, Forestry, and Fisheries, 4(2), 77-82.

Abdollahzadeh, G., & Sharifzadeh, M. S. (2021). Predicting farmers' intention to use PPE for prevent pesticide adverse effects: An examination of the Health Belief Model (HBM). Journal of the Saudi Society of Agricultural Sciences, 20, 40-47.

Alavanja, M. C. R., Hoppin, J. A., & Kamel, F. (2004). Health Effects of Chronic Pesticide Exposure: Cancer and Neurotoxicity. Annual Review of Public Health, 25(1), 155–197. https://doi.org/10.1146/annurev.publhealth.25.101802.123020

Deziel, N. C., Friesen, M. C., Hoppin, J. A., Hines, C. J., Thomas, K., & Beane Freeman, L. E. (2015). A Review of Nonoccupational Pathways for Pesticide Exposure in Women Living in Agricultural Areas. Environmental Health Perspectives. National Institute of Environmental Health Science. https://doi.org/10.1289/ehp.1408273

Everett, C. J., Thompson, O. M., & Dismuke, C. E. (2017). Exposure to DDT and diabetic nephropathy among Mexican Americans in the 1999–2004 National Health and Nutrition Examination Survey.EnvironmentalPollution,222,132–137. https://doi.org/10.1016/j.envpol.2016.12.069

Henríquez-Hernández, L. A., Luzardo, O. P., Valerón, P. F., Zumbado, M., Serra-Majem, L., Camacho, M., González-Antuña, A., & Boada, L. D. (2017). Persistent organic pollutants and risk of diabetes and obesity on healthy adults: Results from a cross-sectional study in Spain. The Science of the Total Environment, 607-608, 1096–1102. https://doi.org/10.1016/j.scitotenv. 2017.07.075

Janz, N. K., & Becker M. H. (1984). The health belief model: a decade later. Health Education

Quarterly, 11(1), 1-47.

Jin, J., Wang W., He, R., & Gong, H. (2017). Pesticide Use and Risk Perceptions among Small-Scale Farmers in Anqiu County, China. International Journal of Environmental Research and Public Health, 14(29), 1-10 doi:10.3390/ijerph14010029

Juntarawijit, C., & Juntarawijit, Y. (2018). Association between diabetes and pesticides: a case-control study among Thai farmers. Environmental Health and Preventive Medicine, 23(1), 3. https://doi.org/10.1186/s12199-018-0692-5

Rezaei, R., & Mianaji S. (2019). Using the health belief model to understand farmers’ intentions to engage in the on-farm food practice practices in Iran. Journal of Agricultural Science and Technology, 21(3): 561-574.

Rosenstock, I. M. (1974). Historical origins of the health belief model. In M. H. Becker. (Ed.).

The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Thorofare, N.J.: C. B. Slack.

Tang, M., Chen, K., Yang, F., & Liu, W. (2014). Exposure to organochlorine pollutants and type 2 diabetes: A systematic review and meta-analysis. PLOS ONE. Public Library of Science. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0085556

Zafarzadeh, A., Mirkarimi, S.K., Bay, A., & Heidari, A., (2019). Determinants of farmers’ health behaviors on poisoning with pesticides in Golestan Province: based on the health belief model. Journal of Research Development in Nursing and Midwifery, 16(2), 41-51.