ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้าของพนักงานขับรถ สำนักงานเขตแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฏฐรี เพชรน้อย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกของการเกิดความล้า และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความล้าในพนักงานขับรถของสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานขับรถ จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม  2) เครื่องมือวัดความล้า เครื่องวัดความถี่ของแสงกระพริบของสายตา สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยสถิติ  Chi-square


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 46.63 ปี มีการรับประทานยาเป็นประจำ ร้อยละ 37.9 โดยส่วนใหญ่ขับรถเก็บขนมูลฝอย ร้อยละ 56.3 ขับรถปฏิบัติงานเฉลี่ยวันละ 6.04 ชั่วโมง 2) จากการศึกษาพบอัตราความชุกของการเกิดความล้าจากการทดสอบด้วยเครื่องวัดความถี่ของแสงกระพริบของสายตา ร้อยละ 11.5 โดยร้อยละ 70 ของพนักงานที่มีความล้าสังกัดฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ และ3) จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้าของพนักงานขับรถพบว่า การรับประทานยาเป็นประจำมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความล้าของพนักงานขับรถอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งนี้หน่วยงานควรจัดให้มีแนวทางป้องกันการเกิดความล้าของพนักงานขับรถเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมการขนส่งทางบก. (2562). ข่าวกรมการขนส่งทางบก. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/
2.กนิษฐา บุญภา, ศรีรัตน์ บุญล้อม, และ จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตกสนเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 46-58. สืบค้นจาก http://trsl.thairoads.org/FileUpLoad/1552/151206001552.pdf
3.นารา กุลวรรณวิจิตร. (2549). อัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเส้นทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ(จตุจักร). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทย์ศาสตร์. สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=116547&query=Array&s_mode=Array&date_field=date_create&date_start=2558&date_end=2559&limit_lang=&limited_lang_code=tha&order=&order_by=title&order_type=ASC&result_id=1&maxid=1
4.มนูญ ลีเชวงวงศ์, เอวริน ลีเชวงวงศ์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และ อุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดอุบัติเหตุและความง่วงในพนักงานขับรถโดยสาร/รถบรรทุกโดยใช้แบบสอบถาม[Role of Drowsy Driving in Traffic Accidents: A Questionnaire Survey of Thai Commercial Bus/Truck Drivers]. สืบค้นจาก https://www.researchgate.net/profile/Manoon_Leechawengwongs/publication/6595045_Role_of_drowsy_driving_in_traffic_accidents_a_questionnaire_survey_of_Thai_commercial_bustruck_drivers/links/53e4ec790cf25d674e950648.pdf
5.ลักษณา เหล่าเกียรติ, และ ศศิธร ศรีมีชัย. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถรางในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 11(1), 15-26. สืบค้นจาก https://www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com
6.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สถิติคดีอุบัติเหตุการจราจรทางบก จำแนกตามสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากบุคคล สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม และสาเหตุจากอุปกรณ์ที่ใช้ขับขี่ กรุงเทพมหานคร(บช.น.) พ.ศ.2549-2558. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries21.html
7.AAA Foundation for Traffic Safety. (2016). Acute Sleep Deprivation and Risk of Motor Vehicle Crash Involvement. Retrieved from https://aaafoundation.org/acute-sleep-deprivation-risk-motor-vehicle-crash-involvement/
National Highway Traffic Safety Administration. (2017). Drowsy Driving 2015. Traffic Safety Facts. Retrieved from https://crashstats.nhtsa.dot.gov/Api/Public/ViewPublication/812446
8.The National Safety Council. (2020). Drivers are Falling Asleep Behind the Wheel. Retrieved from https://www.nsc.org/road/safety-topics/fatigued-driver#:~:text=Impact%20of%20Drowsiness%20on%20Driving&text=Driving%20after%20going%20more%20than,crash%20if%20you%20are%20fatigued
9.Transport Accident Commission. (2017). Avoiding driver fatigue. Retrieved from https://www.tac.vic.gov.au/road-safety/safe-driving/tips-and-tools/fighting-fatigue