ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้าของพนักงานขับรถ สำนักงานเขตแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฏฐรี เพชรน้อย
เพ็ญศรี วัจฉละญาณ
ลักษณา เหล่าเกียรติ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกของการเกิดความล้า และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความล้าในพนักงานขับรถของสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขับรถ จำนวน 87 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถาม (2) เครื่องวัดความสามารถของตาในการจับความถี่ของการกะพริบของดวงไฟ สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยสถิติไคสแควร์ และการทดสอบของฟิชเชอร์


     ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 46.63 ปี มีการรับประทานยาเป็นประจำ (ร้อยละ 37.9) โดยส่วนใหญ่ขับรถเก็บขนมูลฝอย (ร้อยละ 56.3) ขับรถปฏิบัติงานเฉลี่ยวันละ 6.04 ชั่วโมง (2) พนักงาน 10 คนมีความล้าจากการทดสอบด้วยเครื่องวัดความสามารถของตาในการจับความถี่ของการกะพริบของดวงไฟ คิดเป็นอัตราชุก ร้อยละ 11.5 โดยร้อยละ 70 ของพนักงานที่มีความล้าสังกัดฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ และ (3) จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้าของพนักงานขับรถพบว่า การรับประทานยาเป็นประจำ เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความล้าของ พนักงานขับรถอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งนี้ หน่วยงานควรจัดให้มีแนวทางป้องกันการเกิดความล้าของพนักงานขับรถ โดยการอบรมพนักงานขับรถให้มีการดูแลสุขภาพและการนอนหลับที่เพียงพอก่อนการขับรถ จัดให้มีการพักก่อนการขับรถครั้งต่อไป รวมถึงการตรวจสอบความล้าด้วยตนเองก่อนการขับรถ เพื่อเป็นการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2562). ข่าวกรมการขนส่งทางบก. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/

กรมการขนส่งทางบก. (2563). โครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล.

กนิษฐา บุญภา, ศรีรัตน์ บุญล้อม, และ จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตกสนเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 46-58.

ณธิดา อินทร์แป้น, และนริศรา จันทรประเทศ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 247-258.

นันทพร ภัทรพุทธ, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ปิติ โรจน์วรรณสินธุ์, และวัลลภ ใจดี. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการพัฒนารูปแบบการพักเพื่อลดความล้าของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นารา กุลวรรณวิจิตร. (2549). อัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเส้นทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียง เหนือในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ(จตุจักร). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทย์ศาสตร์.

มนูญ ลีเชวงวงศ์, เอวริน ลีเชวงวงศ์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และ อุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดอุบัติเหตุและความง่วงในพนักงานขับรถโดยสาร / รถบรรทุกโดยใช้แบบสอบถาม [Role of Drowsy Driving in Traffic Accidents: A Questionnaire Survey of Thai Commercial Bus/Truck Drivers].

ลักษณา เหล่าเกียรติ, และ ศศิธร ศรีมีชัย. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถรางในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 11(1), 15-26.

วิไลรัตน์ เจริญใหม่รุ่งเรือง, สมศรี ศิริไหวประพันธ์, และรณินทร์ กิจกล้า. (2558). การพัฒนาโมเดลการบริหารความเหนื่อยล้าของพนักงานขับรถขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมผลิตก๊าซอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 25(3), 467-474.

สสิธร เทพตระการพร. (2556). การยศาสตร์อาชีวอนามัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สถิติคดีอุบัติเหตุการจราจรทางบก จำแนกตามสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากบุคคล สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม และสาเหตุจากอุปกรณ์ที่ใช้ขับขี่ กรุงเทพมหานคร(บช.น.) พ.ศ.2549-2558. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries21.html

AAA Foundation for Traffic Safety. (2016). Acute Sleep Deprivation and Risk of Motor Vehicle Crash Involvement.

Mahachandra, Y.M.,& Sutalaksana, I.Z. (2015). Fatigue Evaluation of Fuel Truck Drivers. Procedia Manufacturing 4, 352-358.

National Highway Traffic Safety Administration. (2017). Drowsy Driving 2015. Traffic Safety Facts.

Phatrabuddha, N., Yingratanasuk, T., Rotwannasin, P., Jaidee, W., & Krajaiklang. N. (2017). Assessment of Sleep Deprivation and Fatigue Among Chemical Transportation Drivers in Chonburi, Thailand. Safety and Health at Work, 1-5.

The National Safety Council. (2020). Drivers are Falling Asleep Behind the Wheel.

Transport Accident Commission. (2015). Avoiding driver fatigue.