การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนนักศึกษาบริเวณรอบสถานศึกษาเขตเมือง

Main Article Content

ธีระวุธ ธรรมกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาบริเวณรอบสถานศึกษา  และ 2)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาบริเวณรอบสถานศึกษา ในเขตเมือง  เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางที่ทำในเขตเทศบาลนครแห่งหนึ่ง ของประเทศไทย เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนนักศึกษา โดยการตอบแบบสอบถาม จำนวน 542 คน โดยแบบสอบถาม ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์


การศึกษาพบว่า (1) มีนักเรียนนักศึกษาที่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 70.7 ในรอบ 1 ปีมีการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา/เขตโซนนิ่งรอบสถานศึกษา ร้อยละ 59.0  โดยส่วนใหญ่มีความรู้และการรับรู้มาตรการกำหนดเขตพื้นที่จำหน่ายแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาและพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในระดับปานกลาง และ (2) ปัจจัยด้านอายุ ทัศนคติและการเคยได้ยินมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบหรือใกล้เคียงสถานศึกษามีผลต่อการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา บริเวณรอบสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)


คำสำคัญ:  การซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เขตโซนนิ่ง, รอบสถานศึกษา, เยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา ไทยกล้า. (2560).โซนนิ่งจุดจำหน่ายรอบมหาวิทยาลัยในเชียงใหม่หลังการประกาศ คสช.เชียงใหม่: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2558). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558. เข้าถึงได้ที่: http://www.dla.go.th/work/abt/. เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560.
“คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/ 2558” (2558, 23 กรกฏาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 171 ง. หน้า 7-11.
ทักษพล ธรรมรังสี (บรรณาธิการ). (2556). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.
ทิพยรัตน์ ธรรมกุล, ธีระวุธ ธรรมกุล, ไพโรจน์ พรหมพันใจ, นิยม ไกรปุย, อรณิชา เบลล์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนพื้นที่ชนบท. วารสารวิชาการ สคร5, 20(2), 5-18.
นพดล กรรณิกา. (2559). การกระจายตัวและความหนาแน่นของจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยรอบมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงกรณีศึกษาเปรียบเทียบการกระจายตัวจุดจำหน่ายปี 2552 ปี 2557 และปี 2559. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา: หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นฤพนธ์ ทรงพระ. (2558). การประเมินผลการยอมรับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตาม พระราชบัญญัติควบคุุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 : ศึกษากรณี กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สำนักคณะกรรมการการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค.
บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช จำกัด. (2559). ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ประจำปี พ.ศ. 2559. บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช จำกัด.
บัณฑิต ศรไพศาล. (2550). การควบคุมปัญหาแอลกอฮอล์ เอกสารวิชาการประกอบการพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : Soda Studio Creation & Publishing.
บุญฑริกา บุญไชยแสน, ศิริพร หงษ์ทะนี, ศิรินันท์ ปะนะภูเต, นันทนัช ตั้้งจาตุรโสภณ. (2555). การเข้าถึงแอลกอฮอล์การรับรู้ และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามและ ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เภสัชศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
“ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558” (2558, 22 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 263 ง. หน้า 14.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2525. ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2560). Fact sheet “ร้านเหล้ารอบสถานศึกษา สถานการณ์ ปัญหา สู่แนวทางแก้ไขที่เหมาะสม”. Retrieved August 30, 2017, from http://cas.or.th/2017/2292
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค. (2558). พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551. สำนักคณะกรรมการการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค.
สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค. (2559). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนางานป้องกันควบคุมโรคในเมืองใหญ่ (Big City). สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค.
Bloom BS. (1971). Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
Chaiyasong S, Boonchaisaen B, Hongthani S, Panapute S, & Tangjaturasopon N. (2013). Perception and Compliance with Alcohol Control Laws of Alcohol Retailers around Mahasarakham University Khamriang Campus. J Sci J Conf No 9, 237–44.
Hsieh, F. Y. (1989). Sample size tables for logistic regression. Statistics in medicine, 8(7), 795-802.
Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). N4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program – The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University.
Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 180. 20.