การประยุกต์ใช้กระบวนการวางแผนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สาหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตาบล

Main Article Content

จักรกฤษณ์ พลราชม
สุพรรณิการ์ เกียรติธาตรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โดยการประยุกต์ใช้ Intervention Mapping (IM) ในการพัฒนาซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประเมินความต้องการหรือการวิเคราะห์ปัญหา  (2) การออกแบบตารางสัมพันธ์เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนปัจจัยเชิงสาเหตุ   (3) การกำหนดทฤษฎี กระบวนการ และกลยุทธ์ในการประยุกต์ใช้ (4) การคัดเลือกกระบวนการและกลยุทธ์เพื่อออกแบบโปรแกรม  (5) การกำหนดแผนงานการดำเนินการเพื่อสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (6) การสร้างแผนการประเมินผล โดยการยกร่างโปรแกรมฯ และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ราย วิพากษ์และประเมินคุณภาพของโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา 2) วัตถุประสงค์ 3) หน่วยงานที่รับผิดชอบ 4) บทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 5) กระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งประกอบด้วย แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 กิจกรรม  และ 6) การติดตามและการประเมินผล สำหรับการประเมินคุณภาพในภาพรวมของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นปรนัยทั่วไป อยู่ในระดับดีมากเช่นกัน การวิจัยครั้งนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสู่การปฏิบัติเพื่อให้ อสม. มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่พึงประสงค์ เป็นตัวแบบที่ดีในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). กรอบแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี การดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ปี 2557-2561). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
จักรกฤษณ์ พลราชม และ กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุภายในตัวบุคคล ของพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการสถาบันการ
พลศึกษา 10 (2): 251-261.
จักรกฤษณ์ พลราชม และ กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. (2562). คู่มือการใช้ “รูปแบบการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครี่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาปริญญาตรี” HED_HPRO Model.
พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จํากัด, กรุงเทพฯ.
ชินตา เตชะวิจิตรจารุ, อัจฉรา ศรีสุภรกรกุล และ สุทัตตา ช้างเทศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กีบความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.
วารสารพยาบาลทหารบก 19 (ฉบับพิเศษ): 320-332.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2553). ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ. เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด, นนทบุรี.
สาธินี ศิริวัฒน์, จักรกฤษณ์ พลราชม, อภิรดี วังคะฮาต, ศรีวิภา ช่วงไชยยะ และ ฐิติรัช งานฉมัง. (2563). โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครองในการป้องกันการสัมผัสสารกําจัด ศัตรูพืช
ในเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม สําหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล. บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จํากัด, กรุงเทพฯ.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2562). รายงานสถานการณ์ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยประจำปี พ.ศ. 2560. สหมิตรพัฒนาการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
สุพรรณิการ์ เกียรติธานี. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อรทัย วลีวงศ์, จินตนา จันทร์โคตรแก้ว, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ และ ทักษพล ธรรมรังสี. (2558). รายงานโครงการศึกษาวิจัย การศึกษาผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อบุคคลรอบ
ข้างผู้ดื่ม ในประเทศไทย (ระยะที่ 1). ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, กรุงเทพฯ.
อริยฉัฏร กาฬหว้า และ จักรกฤษณ์ พลราชม. (2563). โปรแกรมการป้องกันและจัดการพฤติกรรม รุนแรงในพยาบาลวิชาชีพ สําหรับโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท แดเน็กซ์
อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จํากัด, กรุงเทพฯ.
Bandura, A. (1986). Social Foundation of Thought and Action. Prentice-Hall, Englewood Cliffd, NJ.
Bartholomew, K., G. Parcel, G.S. Kok & N. Gottlieb. (2006). Planning health promotion program: an intervention mapping approach. 2nd ed. John Wiley and Sons,
USA.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Kwak, L., Kremers, S. P. J., Werkman, A., Visscher, T. L. S., van Baak, M. A. & Brug, J. (2006). The NHF-NRG In Balance-project: the application of Intervention
Mapping in the development, implementation and evaluation of weight gain prevention at the worksite. Obes Rev, 8(4): 347–61.
Tortelo, S. R., Markham, C. M., Parcel, G. S., Peters, R. J., Escobar-Chaves, S. L., Basen-Engquist, K., & Lewis, H.L. (2005). Using Intervention Mapping to adapt an
effective HIV, sexually transmitted disease, and pregnancy prevention program for high-risk minority youth. Health Promot Pract, 6(3): 286–98.
Young, R.M & Oei, T. (1996). Drinking expectancy profile: Test manual. Behavior Research and Therapy Centre, Australia.
Voogt, C.V., Poelen E.A.P. Kleinjan, M, Lemmers L.A.C.J. & Engles R. C.M.E. (2014). The development of a web-based brief alcohol intervention in reducing heavy
drinking among college students: An Intervention Mapping approach. Health Promot Int, 29(4): 669-79.