การตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในน้ำแข็งบริโภคที่จำหน่ายรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ธีระภูธร
เณริศา ทิพยราช
ธนบดี พาพันธ์
สุปรียา ขำดี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์      เพื่อตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เชื้อ Escherichia coli และเชื้อ Staphylococcus aureus ในน้ำแข็งบริโภคที่จำหน่ายรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร


วิธีการศึกษา       เก็บตัวอย่างน้ำแข็งบริโภคทั้งหมด 41 ตัวอย่างที่จำหน่ายรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 นำมาตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียและเชื้อ Escherichia coli ด้วยวิธี  Most Probable Number (MPN) และเชื้อ Staphylococcus aureus  ด้วยวิธี Membrane filtration technique


ผลการศึกษา       ตัวอย่างน้ำแข็งบริโภคทั้งหมด 41 ตัวอย่าง พบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียมากกว่าหรือเท่ากับ 2.2 MPN/100 มิลลิลิตร จำนวน 31 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75.61 (31/41) พบเชื้อ E. coli จำนวน 28 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 68.29 (28/41) ทั้งนี้ไม่พบเชื้อ S. aureus ในทุกตัวอย่าง


สรุปผลการศึกษา จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งบริโภคที่จำหน่ายรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร ปนเปื้อนเชื้อจุลชีพที่ระบุไว้ในมาตรฐานคุณภาพด้านจุลินทรีย์มากถึงร้อยละ 78.05 (32/41) ดังนั้นควรมีการตรวจสอบกรรมวิธีการผลิตน้ำแข็ง การขนส่ง การจัดเก็บ และการจำหน่าย โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการผลิต เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 78) พ.ศ. 2527 เรื่อง น้ำแข็ง. ราชกิจจา
นุเบกษา เล่มที่ 101 ตอนที่ 23 (ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจาฯ) ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2527.
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้าน
จุลินทรีย์ทที่ทำให้เกิดโรค. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 148 ง หน้า 42 ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2556
กองโรคติดต่อทั่วไป/ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. (2563). กรมควบคุมโรค เตือน
ประชาชนระมัดระวัง 10 เมนูช่วงหน้าร้อน เสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษ แนะยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด. Retrieved on October 28, 2020, From https://www.ddc.moph.go.th/brc/news.php?news
=11907&deptce=brc&fbclid=IwAR2THBcr0plSmdhExzhhHYPXEWc8g_vNVVPWejhPMixbf8YfuBnihBiSIkg.
ชไมพร หงษาชุม, และAmmala Monsouvanh. (2552). คุณภาพน้ำแข็งทางแบคทีเรียวิทยาตามร้านอาหาร
ตามสั่งรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์,มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ธรา มะลัยจันทร์. (2558). แผนธุรกิจโรงน้ำแข็งหลอดปลอดสาร (Business Plan for Pure Ice Factory).
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปิยะนุช จงสมัคร, จุรีย์ เจริญธีรบูรณ์, และสุนีย์ เตชะอาภรณ์กุล. (2555). การสำรวจความปลอดภัยด้าน
จุลินทรีย์ของน้ำแข็งบริโภคที่จำหน่ายในโรงอาหารและตลาดนัด มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 9(1), 14-23.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2545). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการผลิตน้ำแข็ง. นนทบุรี:
โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
American Public Health Association. (2017). Standard Methods for the Examination of Water and
Wastewater (23rd ed). Washington, DC: APHA.