พฤติกรรมการดูแลตนเองและการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นริศรา เบ้าพิลา
คัติยา อีวาโนวิช
ฉวีวรรณ บุญสุยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มาใช้บริการศูนย์บริการสาธารณสุขเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร และขึ้นทะเบียนเบาหวานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการใช้ยาโดยรวมอยู่ในระดับดีร้อยละ 58.1 การดูแลตนเองอยู่ในระดับดีเพียงร้อยละ 20.5 แต่อยู่ในระดับต้องปรับปรุงถึงร้อยละ 31.8 ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้ในระดับมากร้อยละ 47.8 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับน้อยร้อยละ 89.0 ชนิดของยาที่ใช้ การดูแลตนเอง การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการใช้ยา 11.7 % เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง  ทีมสหวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุข ต้องเน้นย้ำความสำคัญของการใช้ยาที่สม่ำเสมอ แก่ผู้ป่วยเบาหวาน โดยบุคคลในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย. (2561). สถิติยาเหลือใช้งานเภสัชกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข ปี 2561.
2. กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย. (2560). ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยเบาหวานประจำปีงบประมาณ 2560. เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก http://203.155.220.217/hpd/slide2.html
3. ฉวีวรรณ บุญสุยา. (2544). ประชากรและการเลือกตัวอย่าง.ประมวลสาระชุดวิชา สถิติและระเบียบวิธีวิจัยในงานสาธารณสุข หน่วยที่ 8. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4. ชาลิสา จัยสิน. (2560). การวิเคราะห์แบบลอจิสติกลำดับเพื่อทำนายความสามารถของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวสถิติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
5. ธนกร มีนนท์, และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(1), 50-60.
6. วิชัย เอกพลากร. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
7. วินัดดา ดรุณถนอม. (2562). พฤติกรรมการใช้ยาชนิดรับประทานในผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังใน ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 11(1).
8. วิสุทธิ์ โนจิตต์, สุทิศา สงวนสัจ, สุวัฒนา เกิดเมือง, ศุภสิริ สุขสม, บุษยา ดำคำ, และจันทิมา นวะมะวัฒน์. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8(2), 200-212.
9. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล. (2558). รายงานเบื้องต้นข้อมูลด้านสุขภาพคนกรุงเทพมหานคร.สืบค้นมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/2558-69799344
10. ศิริพร งามขำ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, และจารุวรรณ หมั่นมี. (2561). การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลเกื้อการุณย์, 25(2), 91-104.
11. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (Vol. 102). กรุงเทพมหานคร: บ. ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.
12. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2560). แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (2556-2575). กรุงเทพมหานคร.
13. สิริมาส วงศ์ใหญ่, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, และพรรณ วดีพุธวัฒนะ. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพมหานคร, 30(2), 80-90.
14. สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4, 191-204.
15. Chali Segni Wanna et al. (2018). Self-care practice and associated factors among Diabetes Mellitus patients on follow up in Benishangul Gumuz Regional State Public Hospitals, Western Ethiopia: a cross-sectional study. BMC research notes, 11(1).
16. World Health Organization. (2018). Global report on diabetes Mellitus. Retrieved from https://www.who.int/diabetes/global-report/en/