ปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ สภาพงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน และอำนาจทำนายต่อความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถพยาบาล

Main Article Content

นิสากร ชีวะเกตุ

บทคัดย่อ

การศึกษาสหสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถพยาบาล และปัจจัยทำนาย ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ภาวะสุขภาพ สภาพงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขับรถพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ภาคตะวันออก ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 204 คน  เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน คือ (1) ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ ชั่วโมงการนอนหลับ ดัชนีมวลกาย ระดับการมองเห็น การใช้เครื่องดื่มชูกำลัง การขึ้นทะเบียนเป็นพนักงานขับรถพยาบาล ประสบการณ์ขับรถ ประสบการณ์การขับรถพยาบาล (2) ภาวะสุขภาพจิต (3) สภาพงาน (4) สิ่งแวดล้อมในการทำงาน และ (5) ความสามารถในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า พนักงานขับรถพยาบาลส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการทำงานในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.3 ปัจจัยร่วมทำนายความสามารถในการทำงานได้ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียงตามลำดับ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ ประเภทรถพยาบาล  ภาวะสุขภาพจิต ดัชนีมวลกาย และการมองเห็น มีอำนาจการทำนายร้อยละ 29.7 (R2 = .297) ดังนั้น การเพิ่มระดับความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถพยาบาลควรมุ่งเน้นที่การสร้างเสริมสุขภาพกายและใจ การออกกำลังกาย และการจัดหารถพยาบาลที่มีมาตรฐาน


คำสำคัญ: สภาพงาน/ ภาวะสุขภาพ/ ความสามารถในการทำงาน/ พนักงานขับรถพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุณฑลีย์ บังคะดานรา, สรา อาภรณ์ , อรวรรณ แก้วบุญชู, และณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกสารเคมี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(2), 62-71.
ธนา นิลชัยโกวิทย์ , จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, & ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2539). ความเชื่อถือได้ และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(1), 2-17.
นภัสวรรณ พชรธนสาร, วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, รัชนี คนึงคิด, & บุญรัตพันธ์, ม. (2560). สิ่งคุกคามต่อสุขภาพและอุบัติเหตุจราจรระหว่างการปฏิบัติงานของคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉิน. วารสารควบคุมโรค, 42(4), 304-314.
วารุณี ตั้งสถาเจริญพร, ธานี ตั้งธรรมานุกูล, และอัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ. (2555). ความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร, 39(4), 152-168.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2557). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน. นนทบุรี: บริษัท อัลติเมท พริ้นติ้ง จำกัด.
อนุชา เศรษฐเสถียร, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วิชรดิลก, สุชาติ ได้รูป, และศิรชัย นิ่มมา. (2558). สถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 9(3), 279-293.
Alavinia, S. M., van den Berg, T. I., van Duivenbooden, C., E., L. A., , & Burdorf, A. (2009). Impact of work-related factors, lifestyle, and work ability on sickness absence among Dutch construction workers. Scand J Work Environ Health, 35(5), 325-333.
Ilmarinen, J. (2004). Past, present and future of work ability: Finnish Institute of Occupational Health, Finland.
Ilmarinen, J., Tuomi, K., & Klockers, M. (1997). Changes in the work ability of active employees on an 11-year period. Scand J Work Environ Health, 23(1), 49-57.
Klinwichit, W. (2007). Promoting work ability among nurses working at health center, Burapha university.
paper presented at the 2nd International conference on occupational health nursing 2007. Alliance for promoting quality of work life : challenges on occupational health, safety and environment. , Bangkok.
Smith, N. (2015). A National Perspective on amlance cashes and safety: guidance from the national highway traffic safety administration on ambulance safety for patients and providers, 84-94. Retrieved from EMSworld.com website: https://www.ems.gov/pdf/EMSWorldAmbulanceCrashArticlesSept2015.pdf
Tabachnick, B. G., & Fiedell, L. S. (2007). Using multivariate statistics. Boston: Allyn & Bacon.
van Schaaijk, A., Boschman, J. S., Frings-Dresen, M. H. W., & Sluiter, J. K. (2016). Appraisal of work ability in relation to job-specific health requirements in ambulance workers. International Archives of Occupational and Environmental Health, 90(1), 123-131.