การประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงสภาพการทำงานในกระบวนการผลิตหอเก็บน้ำแห่งหนึ่งใน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กฤษดา เพ็งอารีย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาลักษณะอันตราย 2) ประเมินระดับความเสี่ยง 3) ปรับปรุงสภาพการทำงานในกระบวนการผลิตหอเก็บน้ำเพื่อลดระดับความเสี่ยง และ 4) การประเมินความพึงพอใจทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงสภาพการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ แบบวิเคราะห์ลักษณะขั้นตอนการทำงาน แบบประเมินระดับความเสี่ยงสภาพการทำงานด้วยวิธีเชคลิส และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสภาพการทำงาน การวิจัยนี้ครอบคลุมขั้นตอนกระบวนการผลิตหอเก็บน้ำทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 1) การตัดแผ่นเหล็ก 2) การม้วนแผ่นเหล็ก 3) การเจาะช่องเหล็ก 4) การประกอบชิ้นส่วนหอเก็บน้ำ และ 5) การทาสีหอเก็บน้ำ ผลการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงสภาพการทำงานอ้างอิงตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะอันตรายจากการวิเคราะห์ลักษณะการทำงานมีความแตกต่างกันในแต่ละขั้นตอน โดยลักษณะอันตรายที่พบอยู่ในระดับความเสี่ยง 3 คือมีความเสี่ยงสูง (ร้อยละ 87.5) และอยู่ในระดับความเสี่ยง 4 คือความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (ร้อยละ 12.5) ต้องทำการลดความเสี่ยงอันตรายโดยการปรับปรุงสภาพการทำงาน และเมื่อปรับปรุงสภาพการทำงานแล้วสามารถลดความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับความเสี่ยง 2 คือความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (ร้อยละ 100) และผลความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสภาพการทำงานก่อนและหลังการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งหมด 5 ด้าน พบว่าระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีเยี่ยมในทุกข้อ สรุปได้ว่าจากการปรับปรุงสภาพการทำงานในกระบวนการผลิตหอเก็บน้ำมีความเสี่ยงลดลงและส่งผลให้มีความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ลักษณีย์ บุญขาว, โชติมาพลรักษา, จีราพร ทิพย์พิลา.(2559). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงเตาเผาอิฐมอญแห่งหนึ่งในอำเภอวารินชาราบจังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,18(1),39-46.
รวินท์นิภา ห่านตระกูล, นิวิท เจริญใจ. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในศูนย์กระจายสินค้า. สัมมนาทางวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการจัดการอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1 ปี 2560.
อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์. (2554).การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย:เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกัน
อุบัติเหตุจากงาน.วารสาร มฉก.วิชาการ,14(28),223-245.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม.(2543).หลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543.ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม.
วุฒินันทน์ ปัทมวิสุทธิ์. (2558). การทํางานกับเครื่องเจียระไนอย่างถูกต้องและปลอดภัย Grinding and Cutting Safety.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ,8(30), 7-14.
กุณฑลีย์ บังคะดานรา, ชัชชัย ธนโชคสว่าง,สรา อาภรณ์. (2560). การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการ
ทำงานเพื่อความปลอดภัยของกลุ่มคนพิการที่ประกอบอาชีพผลิตปุ๋ยไส้เดือนดิน.วารสารความ
ปลอดภัยและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,10(35 ),1-9.
ปิยะณัฐ วงศ์ประเทศ, วัชระ เพียรสุภาพ. (2557). การวิเคราะห์แนวทางเพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก
การทำงาน:กรณีศึกษางานเสาเข็ม. ปริญญาวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ด่านคชาธาร, มุจลินท์ อินทรเหมือน, นิธิมา หนูหลง, จันจิรา มหาบุญ, มัตติกา ยงประเดิม.
(2561). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแผนกซักฟอกใน
โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,28(1),140-154.
ชลาธิป อินทรมารุต.(2559). ความปลอดภัยในงานเชื่อมหรือตัดโลหะ (welding & cutting). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.ได้จาก https://www.intersol-eng.com/ความปลอดภัยในงานเชื่อม/
กองศูนย์ข้อมูลและแผนเทคโนโลยีสารสนเทศการประปาส่วนภูมิภาคนครราชสีมา.(2563).ข้อมูลพื้นฐาน การประปาส่วนภูมิภาค สาขานครราชสีมา.สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.ได้จาก https://www.pwa.co.th/province/branch/5540231

Han, B. S., Park, C. S., & Hong, S. H. (2007). Occupational health and safety risk assessment checklist for preventing accidents during building design phase. Korean Journal of Construction Engineering and Management, 8(2), 68-74.
Gul, M., & Ak, M. F. (2018). A comparative outline for quantifying risk ratings in occupational health and safety risk assessment. Journal of cleaner production, 196, 653-664.
Kogi, K. (2002). Work improvement and occupational safety and health management systems: common features and research needs. Industrial health, 40(2), 121-133.
Rozenfeld, O., Sacks, R., Rosenfeld, Y., & Baum, H. (2010). Construction job safety analysis. Safety science, 48(4), 491-498.
Rausand, M. (2005). Job safety analysis. Department Production and Quality Engineering, Norwegain University Of Science and Technology, [email protected].