ผลของการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2560-2562

Main Article Content

ประเสริฐ ประสมรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2560-2562 ประกอบด้วยการพัฒนา 3 ดี 4 โครงการ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการดี โดยการพัฒนาระบบติดตามกำกับการปฏิบัติราชการ 2) ด้านบริการดี ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพ รพ.สต.ติดดาว และการพัฒนาคู่มือปฏิบัติงาน รพ.สต. และ 3) ด้านคนดี โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามหลักสูตรตาดูดาวเท้าติดดิน เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ด้วยแบบประเมิน รพ.สต.ติดดาว แบบประเมินเปรียบเทียบค่างาน แบบประเมินสมรรถนะบุคลากร และแบบวัดความสำเร็จการใช้คู่มือฯ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75, 0.70, 0.79 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ด้านบริหารจัดการดี เครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิทุกอำเภอมีคุณภาพในระดับดีมาก ขึ้นไปทั้ง 3 ปีตามเป้าหมาย ด้านบริการดี รพ.สต.ผ่านการประเมินรับรอง รพ.สต.ติดดาว ครบ 77 แห่งในระยะเวลา 3 ปีตามเป้าหมาย แต่ระดับความสำเร็จการใช้คู่มือปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีขึ้นไปตามเป้าหมาย 3 อำเภอ และด้านคนดี บุคลากรมีสมรรถนะภาพรวมและรายด้านระดับมากตามเป้าหมาย ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมินี้ ไปขยายผลในระดับเขตสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์. หน้า 433.

นครชาติ เผื่อนปฐม. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4(2), 161-206.

บุญร่วม เทียมจันทร์, ศรัญญา วิชชาธรรม. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ The Law Group.

ประกาศเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 5-8.

ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, มานพ คณะโต, กิตติมา โมะเมน. (2556). การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอาเภอ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(3), 17-28.

ปราโมทย์ บุญเจียร. (2559). พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 6(1), 38-48.

วริศา พานิชเกรียงไกร, เอนก มุ่งอ้อมกลาง, อังคณา สมนัสทวีชัย, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, วลัยพร พัชรนฤมล, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. (2560). การจัดการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตเมืองกรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 11(2), 221-37.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. (2560). รายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2560. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ

อังคณา ภิโสรมย์, ศศิธร ธนะภพ, กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. (2560). ความรู้ เจตคติ และการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชุมพร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 10(36), 53-65.