การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบสำหรับการจัดการความเสี่ยงในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลประจำอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

นลินี ชนะมูล

บทคัดย่อ

     ปัจจุบันผู้ใช้บริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ทั่วถึง ระยะเวลาการรอคอยแพทย์นานขึ้น กระทบโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เพื่อให้โรงพยาบาลตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับกระบวนการทำงาน และความพร้อมในการให้บริการผู้ป่วย


    งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานของห้องฉุกเฉิน 2) เพื่อประเมินและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานของห้องฉุกเฉิน 3) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนสำหรับการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานของห้องฉุกเฉินตามลำดับความสำคัญ โดยประยุกต์ใช้ เทคนิค FMEA ในการวิเคราะห์และระบุปัญหาตลอดจนการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในงานเวชระเบียน งานจุดคัดกรอง และงานห้องฉุกเฉิน


     ผลการวิจัยพบปัญหาทั้งหมด 11 ปัญหา โดยปัญหาที่มีคะแนนสูงสามอันดับแรกอยู่ในส่วนงานห้องฉุกเฉิน ได้แก่ ปัญหารถฉุกเฉินเกิดอุบัติเหตุมีค่า RPN เท่ากับ 81 คะแนน ปัญหาการให้บริการผู้ป่วยในกรณีกรณีฉุกเฉินไม่ทันมีค่า RPN เท่ากับ 70 และปัญหาผู้ป่วยกลุ่มไม่ฉุกเฉินมารับบริการนอกเวลาราชการจำนวนมากมีค่า RPN เท่ากับ 60 คะแนน ซึ่งทีมสมาชิกได้ร่วมกันเสนอแนวทางทางการแก้ไขปัญหาโดยแยกตามสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานั้นๆทั้ง 11 ปัญหาที่เกิดขึ้น  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ณัฐธิดา คุณาบุตร, เด่นศักดิ์ ยกยอน, วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล, และไชยนันต์ แท่งทอง. (2562). การประเมินความเสี่ยงในงานก่อสร้างและปรับปรุงระบบนำจ่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งด้วยการตรวจความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นใหม่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 12(3), 17 – 28.
2. มยุรัตน์ สุทธิวิเศษศักดิ์. (2548). การประยุกต์ใช้ FMEA ในหน่วยงาน. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา. 7(1-3), 82-84.
3. รุ้งดาว ดีดอกไม้ และ ไกรชิต สุตะเมือง. (2555). ความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรณีฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารการเงิน การทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 2(4), 121 - 138.
4. กัญญา วังศรี. (2556). การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 28, 66 - 73.
5. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อพวช., กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือบริหารความเสี่ยง อพวช. ประจำปีงบประมาณ 2559.
6. นลินี ชนะมูล และ ธนกรณ์ แน่นหนา. (2557). รูปแบบเกณฑ์การประเมินของ FMEA ที่เหมาะสมกับโรงพยาบาล. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ (30 - 31 ตุลาคม 2557).
7. จุฑารัตน์ กองแก้ว. (2558). การพัฒนาคุณภาพการบริการของหน่วยงาน Urinalysis โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) โดยใช้ SWOT analysis และ FMEA. วิทยานิพนธ์ปริญญาเทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต, คณะเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
8. Ho, C.C. & Liao, C-J. (2011). The use of failure mode and effects analysis to construct an effective disposal and prevention mechanism for infectious hospital waste. Waste Management, 31, 2631-2637.
9. Gupta, U., Chugh, M., Sharma, A., Bansal, A. & Jain, N. (2004). Failure Mode Effect Analysis in Healthcare - Preventing an Error before any Harm is Done. Apollo Medicine, 1: 64-68.
10. Lin, O-L., Wang, D.-J., Lin, W-G. and Liu, H.C. 2014. Human reliability assessment for medical devices based on failure mode and effects analysis and fuzzy linguistic theory. Safety Science, 62: 248-256.
11. Manufacturing Technology Committee, 2008. Failure Modes and Effects Analysis Guide. Product Quality Research Institute, 1-10.
12. Riehle, M.A., Bergeron, D. and Hyrkas, K. 2008. Improving process while changing practice: FMEA and medication administration. Nursing Management, 28-33.
13. GARCIA, P.A.A. SCHIRRU, R. and FRUTUOSO E MELO, P.F. 2005. A FUZZY DATA ENVELOPMENT ANALYSIS APPROACH FOR FMEA. Progress in Nuclear Energy, 46(3-4): 359-373.
14. Mummolo, G., Pilolli, R., Pugliese, D. and Ranieri, L. 2010. FMECA Analysis of Healthcare Services: The Evaluation of the Efficiency of a Hospital Department. Proceedings of The International Workshop on Applied Modeling & Simulation, 93-100.