แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ยุทธจักร์ อุตเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืน ดำเนินการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำรวจข้อมูลเชิงปริมาณด้วยจากแบบสอบถามจากผู้บริหารหรือตัวแทนในโครงการขององค์กรธุรกิจที่รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้รับการพิจารณาผ่านการเห็นชอบ จำนวน 500 รายโดยใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิง และสถิติเชิงพหุ


          ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืนที่สำคัญ ด้านกฎหมาย ได้แก่  การประเมินผลกระทบต้องมีผลการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพประชาชนปรากฎอยู่ในรายงาน ด้านบริษัทที่ปรึกษาการจัดทำรายงาน ได้แก่ บริษัทที่ปรึกษาการจัดทำรายงานต้องมีประสบการณ์และมีความชำนาญ ด้านทรัพยากร ได้แก่ องค์กรธุรกิจต้องมีผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อมที่มีประสบการณ์ในรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และด้านประชาคม ได้แก่ การให้ประชาชนหรือชุมชนที่รับผลกระทบโดยตรงได้รับทราบถึงการแก้ไขข้อมูลในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พื้นที่โครงการขององค์กรที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและตั้งอยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมให้ความสําคัญต่อแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


          ผลการวิเคราะห์ตัวแบบจําลองสมการโครงสร้างที่ได้พัฒนาขึ้นพบว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าระดับความน่าจะเป็นของไคสแควร์ เท่ากับ 0.127 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.163 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง เท่ากับ 0.972 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกําลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 0.018

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ จินตรัตน์. (2563). 5 แนวทาง CSR ที่บริษัทต่างๆ จะทำในปี 2020. [เผยแพร่เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563]. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864973
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). แหล่งที่มาของปัญหามลพิษ ตั้งแต่ พ.ศ. 2557-2559. กรุงเทพมหานคร : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). [สืบค้นวันที่ 2 พฤษภาคม 2562].จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171207-MinistryofIndustry.pdf
Bradley, M., & Swaddling, A. (2018). Addressing environmental impact assessment challenges in Pacific island countries for effective management of deep sea minerals activities. Marine Policy, 95, 356-362.
Brombal, D., Moriggi, A., & Marcomini, A. (2017). Evaluating public participation in Chinese EIA. An integrated Public Participation Index and its application to the case of the New Beijing Airport. Environmental Impact Assessment Review, 62, 49-60.
Chanthy, S., & Grünbühel, C. M. (2015). Critical challenges to consultants in pursuing quality of Environmental and Social Impact Assessments (ESIA) in Cambodia. Impact Assessment and Project Appraisal, 33(3), 226-232.