ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจต่อความรู้เรื่อง 5R และพฤติกรรมในการลดขยะมูลฝอยครัวเรือนของประชาชนตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ฉัตรนภา สนองบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research design) โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental group) และกลุ่มควบคุม (Control group)ทำการวัดก่อนและวัดหลังการทดลอง (Two group Pretest-Posttest Design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจต่อความรู้เรื่อง 5R และพฤติกรรมการลดขยะมูลฝอยครัวเรือนของประชาชนในเขตตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จำนวน 60 คน โดยจัดการอบรมให้กลุ่มทดลองเพื่อให้ความรู้โปรแกรม 5R สาธิตการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน การสร้างแรงจูงใจจากการประดิษฐ์สิ่งของที่เหลือจากการบริโภคและมอบรางวัล และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน จำนวน 30 คน  และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน แก่กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ Paired T – Test และ Independent T-Test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 95%  ผลการศึกษา พบว่า ในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโครงการมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่อง 5R พฤติกรรมและแรงจูงใจในการลดขยะมูลฝอยในครัวเรือน เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.0001)  พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณขยะในครัวเรือนของกลุ่มทดลอง จำนวน 30 ครัวเรือนหลังเข้าร่วมโครงการฯ ลดลง จาก 1.71 เป็น 1.17 กิโลกรัม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กระทรวง
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ : กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง . (2561). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัด
สะอาด” จังหวัดสุโขทัย ประจำปี พ.ศ.2561. สุโขทัย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง . (2561). รายงานขยะมูลฝอยจังหวัดสุโขทัย ประจำ
ปีงบประมาณ 2561. สุโขทัย.
ธวัชชัย วรพงศธร. (2540). หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์. (2553). จิตวิทยาธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
บัวผิน สิงห์แก้ว. (2558). แรงจูงใจของประชาชนในการจัดเก็บขยะมูลฝอยในเทศบาลตำบลริมปิง อำเภอเมืองลำพูน
จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ รป.ม., มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, กรุงเทพฯ.
ปัญจะ หัตตะโสภา. (2557). ผลการเข้าร่วมโปรแกรม 5R ต่อความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนของ
ประชาชนในตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ สม., มหาวิทยาลัยราชภัฏราช
นครินทร์, ฉะเชิงเทรา.
ภิญโญ หงส์ทอง และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ
มูลฝอยในครัวเรือน ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ ส.ม., มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.
ลินิน พูนผล และคณะ. (2557). การสร้างบุคคลต้นแบบในจัดการมูลฝอยโดยอาศัยแรงจูงใจให้แกนนำชุมชนมีส่วนร่วม
ชุมชนสามัคคีธรรม เทศบาลตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 70-
83.
วันวิสาข์ คงพิรุณ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะ ในหมู่บ้านโป่งปะ ตําบลแก่งโสภา อําเภอ
วังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยนเรศวร, 26(2), 310-321.
สุทธิ์ บุญโท. (2559). ประสิทธิผลการจัดการปริมาณขยะชุมชนจากการใช้หลัก 5Rs กรณีศึกษาตำบลทุ่งทราย จังหวัด
กำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ สม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Bloom; other. (1956). Handbook on Formation and Summatic of Student Learning. New York: McGraw
Hill.
Kerlinger, N.F. Foundations of Behavioral Research. 3 ed. New York : Holt Rinehard &
Winston,Inc.,1986.
The World Bank. (2013 May 11). What a Waste: A Global Review of Solid Waste
Management. Retrieved November 11, 2018, from : http://web.worldbank.org