แนวทางการปฏิบัติตัวในอาคารขณะเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย

Main Article Content

พันธพัฒน์ บุญมา
สันต์ จันทร์สมศักดิ์

บทคัดย่อ

แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ สิ่งสำคัญในการรับมือคือ การเตรียมความพร้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม สำหรับประเทศที่มีประสบการณ์ในการรับมือแผ่นดินไหวน้อยดังเช่นประเทศไทย การศึกษาวิธีปฏิบัติจากประเทศหรือหน่วยงานที่มีประสบการณ์จะทำให้รู้ถึงวิธีการที่ชัดเจนในการปฏิบัติตัว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตัวในขณะเกิดแผ่นดิน ไหวจากแหล่งที่มาต่าง ๆ กับประเทศไทย ซึ่งจะเป็นแนวทางนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง


วิธีปฏิบัติตัวประกอบด้วย ขณะเกิดภัยต้องไม่ตื่นตระหนก ป้องกันตัวจากวัสดุหล่นทับ หาที่หลบใต้เครื่องเรือนที่แข็งแรง ใช้มือและแขนปกป้องคอและศีรษะ ใช้หมอนคลุมศีรษะเมื่ออยู่บนที่นอน เลี่ยงในจุดที่วัสดุอาจหล่นทับ ห้ามใช้ลิฟต์ ให้อยู่ในอาคารจนแผ่นดินไหวหยุดและให้รีบออกเมื่อแผ่นดินไหวหยุดและมั่นใจว่าปลอดภัย โดยประเทศไทยมีวิธีการปฏิบัติตัวที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการแต่ยังขาดข้อปฏิบัติในบางประเด็นซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมหากนำมาปรับใช้ และควรสร้างการรับรู้ให้ง่ายต่อการเข้าใจให้ครบกระบวนการ โดยใช้เป็นคำที่ง่ายต่อการสื่อสารคือ “หลบ หลีก หนี” ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจถึงการปฏิบัติตัวที่สอดคล้องกับช่วงเวลา และเพิ่มทักษะการป้องกันตนเอง รวมถึงนำมาปรับใช้ในการจัดสภาพแวดล้อมของอาคารได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). แผ่นดินไหวกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ:กรมทรัพยากรธรณี.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (ม.ป.ป.). รู้รับ-รู้ทัน แผ่นดินไหว...ลดเสี่ยงอันตราย. สืบคันเมื่อ2 พฤษภาคม 2562, จาก http://122.155.1.141/ cmsdetail.WPP-7.233/6648/ menu_4674/2143.1

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2557). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แมคกรอ ฮิลล์.

บุรินทร์ เวชบรรเทิง. (ม.ป.ป.). ความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับแผ่นดินไหว. กรุงเทพฯ: สำนักแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา.

ปัญญา จารุศิริ. (2555, 1 พฤษภาคม). บทสัมภาษณ์ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในประเทศไทย.เดลินิวส์ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555.

ปัญญา จารุศิริ และคณะ. (2544). ธรณีวิทยากายภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการผลิตตำราและหนังสือคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2561). เรื่องควรรู้ในการใช้ชีวิตเมื่อเกิดภัยพิบัติ. 23 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.seub.or.th/bloging

ราเชนทร์ พูลทรัพย์, และบุญสม วราเอกศิริ. (2560). แนวทางการจัดการตนเองของชุมชนจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(1), 82-9.

เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ. (2553). การจัดการสาธารณภัย. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภกร ตุลย์ไตรรัตน์, และสรันยา เฮงพระพรหม. (2560). การเตรียมความพร้อมรับมือต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหว.แผ่นดินไหว. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(1), 114-120.

สำนักงานเขตเมกุโระ แผนกป้องกันภัยพิบัติ สำนักงานควบคุมภยันตราย เขตเมกุโระ. (2550). คู่มือการรับมือแผ่นดินไหวฉบับย่อ. (แปลจากภาษาญี่ปุ่น โดยศูนย์นักศึกษาต่างชาติ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว). โตเกียว: มูลนิธิส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งเขตเมกุโระ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย: กรณีศึกษาประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภาภรณ์ สุดหนองบัว. (2558). การเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ กรณีแผ่นดินไหว.พิษณุโลก: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมร พิมานมาศ. (2554, 24 กรกฎาคม). บทสัมภาษณ์ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในประเทศไทย.จดหมายข่าว IPRB ฉบับที่ 24.

ASEAN. (2012). The ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response.Retrieved March 7, 2018, from http://www.asean.org/ communities/asean-socio-cultural-community/item/the-asean-agreement-on-disaster-management-and-emergency-response

Bachir, D. (1996). Housing occupants' responses to architectural earthquake damage. University of Michigan. United States.

Ben, W. (2003). Disaster risk reduction in megacities: Making the most of human capital inkreimer, alcira. (2003):Building safer cities: The future of disaster risk. Washington D.C, World Bank.

Cabinet Office, Government of Japan. (2015). Disaster Management in Japan. Retrieved January 15, 2019, from http://www.bousai.go.jp/1info/pdf/saigaipamphlet_je.pdf

Civil Defence Emergency Management. (n.d.). During an Earthquake. Retrieved March 3, 2018, from http://www.getthru.govt.nz/disasters /earthquake/#during

Disaster Prevention Division, Bureau of General Affairs, Tokyo Metropolitan Government Management Section. (2019). The behavioral simulation when going out. Retrieved June 20, 2019, from https://www.bousai.metro.tokyo.lg.jp/ bousai/ 1000026/ 1000280.html

Ellidokuz, H., Ucku, R., Aydin, U.Y., & Ellidokuz, E. (2005). Risk factors for death and injuries in earthquake: cross-sectional study from Afyon, Turkey. Croatian Medical Journal, 46(4).

Federal Emergency Management Agency. (2014). Are You Ready? An In-depth Guide to Citizen Preparedness 2014. Retrieved December 14, 2017, from https://www.ready.gov/ document/are-you-ready-depth-guide-citizen-preparedness

Fink, S. (1967). Crisis and motivation: a theoretical model. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 48(11), 592-597.

Galloway, G. E. (2003). Perspectives on a National Water Policy. Journal of Contemporary Water Research and Education, 126(1), 2

Hy, R.J., & Waugh, W.L. (1990). Handbook of emergency management: programs and policies dealing with major hazards and disasters. Greenwood Publishing Group.

Murry, R., & Zentner, J. (1975). Nursing Assessment and Health Promotion through the Life Span. New Jersy: Prentice- Hall Inc.

National Disaster Management Authority. (n.d.). What to Do During an Earthquake. Retrieved March 15, 2019, from: https://ndma.gov.in/en/2014-08-07-11-24-51/national-plan/64-citizens-corner/natural-disaster/earthquakes/508-do-s-and-don

Roces, M.C., White, M.E., Dayrit, M.M., & Durkin, M.E. (1992). Risk factors for injuries due to the 1990 earthquake in Luzon, Philippines. Bulletin of the World Health Organization, 70(4), 509.

United Nations. (2014). A Guide for United Nations Personnel in New York. Retrieved August 28, 2018, from: https://emergency.un.org/Emergency-Preparedness-A-Guide-for-United-Nations-Personnel-in-New-York.pdf

U.S. Geological Survey. (n.d.). United States Earthquakes 1990-2012. Retrieved December 15, 2017,from: https://earthquake.usgs.gov/earthquakes/browse/stats.php/-ts.html