พฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กัน

Main Article Content

เยาวภา ติอัชสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล (2) พฤติกรรมการออกกำลังกาย และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์เพศชายและเพศหญิง เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ประชากรคือ นิสิตมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ อายุ 18 – 24 ปี คำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรของเคลซีย์และคณะ ตัวอย่างที่ศึกษา 674 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ปัจจัยทางประชากรและสังคม ปัจจัยขนาดของร่างกาย และปัจจัยเชิงทฤษฎีทางพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย ปัจจัยรูปลักษณ์ ปัจจัยความตั้งใจทำพฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.791, 0.709 และ 0.929 ตามลำดับ และ (2) พฤติกรรมการออกกำลังกาย แบ่งเป็น 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 พฤติกรรมการนั่ง/เคลื่อนไหวใช้แรงกายน้อยตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน (จำนวนนาที) แบบที่ 2 พฤติกรรมการออกกำลังกายในเวลาว่างใน 1 สัปดาห์ (จำนวนนาทีและจำนวนครั้ง) และ แบบที่ 3 พฤติกรรมวิถีการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมการออกกำลังกาย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.848 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล นิสิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และทำงานประจำขณะเรียน สูงกว่านิสิตเพศชาย นิสิตเพศชายมีน้ำหนักตัวเกิน มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และมีภาวะโรคอ้วน สูงกว่านิสิตเพศหญิง นิสิตเพศหญิงส่วนใหญ่รับรู้ปัจจัยเชิงทฤษฎีทางพฤติกรรมสุขภาพของตนในระดับปานกลาง สูงกว่านิสิตเพศชาย การทำงานขณะเรียนและค่าดัชนีมวลกายของนิสิตเพศชายและเพศหญิงแตกต่างกัน (2) พฤติกรรมการออกกำลังกาย นิสิตชายและหญิงทำพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบที่ 1 เฉลี่ยนาน 88 นาที แบบที่ 2 ในทุกระดับของความหนักเบา ครั้งละไม่เกิน 30 นาที และไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และ แบบที่ 3 ในระดับทำบางครั้งในทุกกิจกรรม และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า ปัจจัยขนาดร่างกายมีความสัมพันธ์กับแบบที่ 2 แบบหนัก ปัจจัยรูปลักษณ์กับแบบที่ 2 ในทุกระดับความหนักเบา ปัจจัยความตั้งใจทำพฤติกรรมสุขภาพกับแบบที่ 2 แบบปานกลาง และแบบเบา ปัจจัยความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนกับแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบปานกลาง และแบบที่ 3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนพร แย้มศรี, ชนัญชิตาดุษฎี ทูลศิริ, และ ยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2017). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35 (2) (เมษายน – มิถุนายน)

ภิษณี วิจัยทึก, จีราภรณ์ เจริญสุข, ธิชาภรณ์ ขุนแก้ว, วิไลพร แนวหาร, สิริวิมล แววกระโทก, และสุภาพร มุ่งอยากกลาง. (2560. ความรู้และพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาภาคปกติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฎเพชรบุรีวิจัยศิลปะวัฒนธรรม ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84, 191-215.

Bandura, A. (2001). Social cognitive theory: An agentive perspective. Annual Review of Psychology, 52, 1-26.

Cash, T. F., & Pruzinsky, T. (Eds.). (2002). Body Image: A handbook of theory, research, and clinical practice. New York: Guilford.

Eisen, M et.al. (1992). A Health Belief Model - Social Learning Theory Approach to Adolescents' Fertility Control: Findings from a Controlled Field Trial. Health Education Quarterly, 19.

Festinger, L. (1954). A theory of social comparison processes. Human Behavior, 7, 117-140.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behaviour: An introduction to theory and research. Reading, M.A: Addison-Wesley.

Kelsey, J.L., Whittemore, A.S., Evans, A.S., Thompson, W.D. (1996). Methods in Observational Epidemiology. Oxford University Press.

Korn L, Gonen, E, Shaked Y, Golan, M. (2013). Health Perceptions, Self and Body Image, Physical Activity and Nutrition among Undergraduate Students in Israel. PLoS ONE, 8(3): e58543. doi:10.1371/journal.pone.0058543

Lawrence, R.S., Gootman, J.A. and Sim, L.J. (2009) Adolescent Health Services: Missing Opportunities. The National Academies Press, Washington DC.

Laerd Statistics. (2018). Pearson's Product-Moment Correlation using SPSS Statistics. https://statistics.laerd.com/spss-tutorials/pearsons-product-moment-correlation-using-spss- statistics.php

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. and Parsons, M.A. (2011). Health Promotion in Nursing Practice. 6th Edition, Pearson, Boston.

Semeco, A. (2017). The Top 10 Benefits of Regular Exercise. Available at: https://www.healthline.com/nutrition/10-benefits-of-exercise#section7

Shaban, L.H., Vaccaro, J.A., Sukhram, S.D. and Huffman, F.G. (2016). Perceived Body Image, Eating Behavior, and Sedentary Activities and Body Mass Index Categories in Kuwait Female Adolescents. International Journal of Pediatrics, 2016: 1092819.

Thompson, J.K. (1990). Body image disturbance: Assessment and treatment. Elsmford Park, New York: Pergamon.

World Health Organization. (2009). Global Recommendations on Physical Activity for Health, 2009. Geneva, Switzerland: WHO. Available at: http://www.who.int/ncds/prevention/physical-activity/en/