การประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกผัก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ลักษณีย์ บุญขาว
สุธัญญา วงษาฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกผัก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบสอบถามการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เก็บตัวอย่างกับเกษตรกร จำนวน 120 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอร์ไทล์ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่
มีความเสี่ยงสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 81.67) ซึ่งโอกาสเสี่ยงการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอยู่ในระดับต่ำที่สุด (ร้อยละ 92.50) แต่จะพบว่า เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดแมลงและสารเคมีกำจัดวัชพืชฉีดพ่นผัก (ร้อยละ 37.50 และ 23.33 ตามลำดับ) โดยเป็นสารอะบาเม็กติน พาราควอต และคาร์โบฟูราน (ร้อยละ 50.83 35.00 และ 15.83 ตามลำดับ) เกษตรกรรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในขณะทำงานถึงร้อยละ 40.83 ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อเกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย รณรงค์
ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือแนะนำให้มีการใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแก่เกษตรกร
ผู้ปลูกผักต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2563). สารกำจัดแมลงอะบาเมคติน. [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ15 มิถุนายน 2563, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/books/Pesticide_book-03_Abamectin.pdf

ชวาลภพ บูรณะ. (2556). การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้เพาะปลูกหอมแดง บ้านยางชุมน้อย หมู่ 9 ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ.ปัญหาพิเศษทางด้านสาธารณสุข. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแต้. (2560). รายงานประจำปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.

วิโรจน์ เจ้ยเปลี่ยน, นพวรรณ เปียซื่อ, จินตนา ศิริวราศัย, และนรีมาลย์ นีละไพจิตร. (2560). การใช้สารเคมกำจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทำงานสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง.วารสารพยาบาลศาสตร์, 29, 89-100.

สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. (2560). การดำเนินงานพัฒนาการป้องกัน ควบคุมโรคร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2560. [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562, จาก https://odpc10.ddc.moph.go.th/wp-content/uploads/2018/01/20180117083837.pdf

สำนักระบาดวิทยา. (2559). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตแห่งประเทศไทย.

สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2553). คู่มือเกษตรกรปลอดโรคสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2561,จาก https://koha.library.tu.ac.th/bib/602954

สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2559). สถานการณ์ปัญหาโรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชการเกษตร. [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/404

สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2559). ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/ contents/view/106

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2560). คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ปี 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อิศราภรณ์ หงษ์ทอง และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2552). ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพ เกษตรกรกลุ่มปลูกหอมแดง ตำบลบึงบอน อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยคณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2, 63-70.

Lemeshow, S., Hosmer, D.W., Klar, J., Lwanga, S.K.. Adequacy of sample size in health studies.1sted. Chichester: John Wiley & Sons,1990.

Polyxeni Nicolopoulou-Stamati, Sotirios Maipas, Chrysanthi Kotampasi, Panagiotis Stamatis, Luc Hens. (2016 July). Chemical Pesticides and Human Health: The Urgent Need for a New Concept in Agriculture. Frontiers in public health [serial on the Internet]. Retrieved June 12, 2017, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4947579/pdf/fpubh-04-00148.pdf