ความชุกของการบาดเจ็บที่เท้าและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากกระบวนการหว่านข้าวของชาวนาในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เกวรินทร์ นิติกรณ์
อัมรินทร์ คงทวีเลิศ
เด่นศักดิ์ ยกยอน
ไชยนันต์ แท่งทอง

บทคัดย่อ

กระบวนการหว่านข้าวเป็นกระบวนการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บในชาวนา เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องเดินหว่านข้าวในนา ชาวนาส่วนใหญ่จะไม่สวมรองเท้าในขั้นตอนนี้เพราะเดินไม่สะดวกรวมไปถึงทำงานได้ล่าช้า งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความชุกของการบาดเจ็บที่เท้า ลักษณะการบาดเจ็บที่เท้า สาเหตุของการบาดเจ็บ รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการทำงานกับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในกลุ่มชาวนาในขั้นตอนการหว่านข้าว การศึกษานี้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มชาวนาในอำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ปฏิบัติงานในขั้นตอนหว่านข้าว ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ผ่านการประชาสัมพันธ์ของผู้ประสานงานเกษตรอำเภอเสนา ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 58 คน ศึกษาโดยทำการสัมภาษณ์ถึงข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการทำงานหว่านข้าว ประสบการณ์การบาดเจ็บที่เท้า สาเหตุการบาดเจ็บและลักษณะการบาดเจ็บ ใน 1 ปีที่ผ่านมา


ผลการศึกษาพบว่า ชาวนาร้อยละ 69 ได้รับการบาดเจ็บที่เท้า มีลักษณะการบาดเจ็บเป็นแผลบาด (ร้อยละ 90) และการบาดเจ็บมีสาเหตุมาจากหอยเชอรี่บาดเท้า (ร้อยละ 78.9) จากการทดสอบสถิติไคสแควร์พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บ ได้แก่ เพศ (p-value = 0.025) และการดื่มสุรา (p-value = 0.043) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการบาดเจ็บที่เท้าในกระบวนการหว่านข้าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของเพศและการดื่มสุรา ดังนั้น ควรให้คำแนะนำเรื่องความปลอดภัยในการหว่านข้าวกับชาวนาที่เป็นเพศชายให้มีความระมัดระวังมากขึ้น และมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์งดดื่มสุราเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. (2559). สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก http://www.ricethailand.go.th/rkb3/rice_machine.pdf

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประจำปี 2559. สืบค้น 15 มกราคม 2562, จาก https://ssnet.doae.go.th/wp-content/uploads/2016/05ทะเบียนเกษตรกร-24-11-edit.pdf

กุณฑลีย์ บังคะดานรา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(2), 145-152.

จุฑารัตน์ จิโน. (2558). การศึกษาลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของชาวนาอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 15(2), 242-250.

นภมณ ยารวง. (2559). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานและภาวะสุขภาพของเกษตรกรชาวนา ในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(2), 163-174.

วารุณี พันธ์วงศ์.(2560). ปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนาไทย ชาวนาตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยกาสะลองคำ. 11(3), 125-133.

วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. (2562). ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกร กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 46(4), 37-48.

สมจิต แดนสีแก้ว. (2558). ประสบการณ์ของชาวนาในการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำนา. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(1), 134-144.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2560. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2562, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_60.pdf

Day, L, M. (1999). Preventing farm Injuries overcoming the barriers. Monash University, Australia.

Miot, H.A. (2011). Sample size in clinical and experimental trials. Retrieved 21 April 2018, from: http://www.scielo.br/pdf/jvb/v10n4/en_v10n4a01.pdf

Stephen, A. (2000). Agricultural Injury. American Journal of Industrial Medicine, 38, 463-480.