การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตรีธาตุกับการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ดร.ปุณยนุช อมรดลใจ
แสงนภา ทองสา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรและจำแนกตามคุณลักษณะตรีธาตุ 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเด่นตรีธาตุในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และ 3) เพื่อทำนายโอกาสการเกิดโรคเบาหวานจากลักษณะตรีธาตุ รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน การคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจาก 7 อำเภอ จับฉลากเลือก 3 อำเภอ แบบสอบถาม ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไป และส่วนที่ 2 ลักษณะบุคลิกภาพและพฤติกรรมตามคุณลักษณะตรีธาตุ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 3 ค่า คือ ตรงมาก ให้ 2 คะแนน ตรงบ้างไม่ตรงบ้าง ให้ 1 คะแนน และไม่ตรงเลย ให้ 0 คะแนน แบบสอบถามมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.82 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก


          ผลการศึกษาพบว่า 1) เป็นโรคเบาหวาน 273 คน รองลงมาเป็นโรคความความดันโลหิตสูงและโรคเรื้อรังอื่นๆ มีบุคลิกลักษณะตรงกับปิตตะเป็นส่วนใหญ่ (269 คน) วิเคราะห์กลุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน พบว่า คุณลักษณะปิตตะ วาตะ และเสมหะ เท่ากับ ร้อยละ 68.0, 77.1 และ 75.1 ตามลำดับ 2) โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะเสมหะและวาตะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ออดส์เรโชของผู้ที่มีบุคลิกลักษณะตรงกับเสมหะ และวาตะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 1.49 และ 1.64 เท่าตามลำดับเมื่อเทียบกับปิตตะ ดังนั้น ความสัมพันธ์ตรีธาตุ กับการเกิดโรคเบาหวานพบว่าลักษณะเสมหะและวาตะ มีความสัมพันธ์กันและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานมากกว่าลักษณะปิตตะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไกรสีห์ ลิ้มประเสิรฐ. (2558). เวชกรรมไทยประยุกต์2 ตอน ทฤษฎีธาตุและการวินิจฉัยโรค/วิเคราะห์ตำรับยาไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด.

จักรกริศน์ แสนใจ, ญาณินท์ พลดงนอก, และปุณยนุช อมรดลใจ. (2561). การศึกษาโรคเบาหวานตามแนวคิดทฤษฎีแพทย์แผนไทย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 7, มหาวิทยาลัยรังสิต, 932-940.

ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธัม. (2561). การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเจ้าเรือนกำเนิดกับลักษณะของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกอายุรเวท แพทย์แผนไทยประยุกต์โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช, 11(3), 158-166

เทพ หิมะทองคํา. (2549). ความรู้เรื่องโรคเบาหวานฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ: จูนพับลิซซิงการพิมพ์.

นิทเทส ถมรัตน์ พุ่มชูศรี. (2516). อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ) ขุนนิทเทสสุขกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์.

ภัทระ แสนไชยสุริยา, ภูษิต ประคองสาย, ปาริชาติ จันทร์จรัส, กุมารี พัชนี, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, และบังอร เทพเทียน. (2559) รายงานประเมินแผนงานควบคุม โรคไม่ติดต่อในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2553- 2557. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม. (2541) ตำราการแพทย์แผนไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์) ฉบับพัฒนา ตอนที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สีไทย.

โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร. (2500). แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1-3: ม.ป.ท.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2562). ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563. จาก http://203.157.108.3/chronic60/rep_dmscreen2.php.

สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2551). ตําราตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 : 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง.

อ้อมบุญ วัลลิสุต.(2555). การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563.จากhttps://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/61

Guyton, A.C, and Hall, J.E. (2006). Chapter 78 “Insulin, Glucagon and Diabetes Mellitus” in Textbook of Medical Physiology 11st ed., Elsevier Saunders.

World Health Organization and International Diabetes Federation. (2016). Definition and diagnosis of diabetes mellitus and intermediate hyperglycemia. Report of a WHO/IDF Consultation. Geneva; 2016. Retrieved April 17, 2020, from https://www.who. int/diabetes/ publications/ diagnosis_diabetes2006/en/.

Yamane, T. (1967). Statistics : An introductory analysis. ( 2nd ed.) New York : Harper and Row.