ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานของวัยรุ่นในภาคตะวันออก

Main Article Content

ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานของวัยรุ่นและปัจจัยทำนายตามกรอบทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานของวัยรุ่นในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วัยรุ่น จำนวน 989 คน ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถานศึกษาเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นตามกรอบทฤษฏีพฤติกรรมตามแผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานโดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 73.7 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 61.2 มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนของเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงาน อยู่ในระดับปานกลาง เจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r  = 0.187, 0.366 และ0.375 ตามลำดับ) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานได้ร้อยละ 22.7 (R2 = .227, p < .001) ดังนั้น จึงควรมุ่งเน้นการส่งเสริมให้วัยรุ่นมีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในแนวทางที่เหมาะสม และมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เพื่อให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา อึ้งชูศักดิ์. (2555). น้ำตาล สุขภาพ และการจัดการด้านการบริโภคที่เหมาะสม. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์กรทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี. (2555). การสํารวจภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนในภาคตะวันออก. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ. กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อาภรณ์ ดีนาน. (2551). แนวคิดและวิธีการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น (Adolescent health : concepts & application) กรุงเทพฯ : ไฮเดนกรุ๊ป.
Abdulrahman O., Musaiger and Nisreen Zagzoog. (2014). Knowledge, Attitudes and Practices toward Energy Drinks among Adolescents in Saudi Arabia. Global Journal of Health Science, Vol. 6, No. 2, 42-46.
Ajzen, I. (1988). From intentions to actions: A theory of Planned Behaviour. In: J. Kuhl and Beckmann (Eds.). Action-Control: from cognition to behaviour. Heidelberg, Germany: Springer, 11-39.
Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior & Human Decision Processes, 50(2), 179-212.
Armitage, C. & Conner M. (2001). Efficacy of the Theory of Planned Behaviour: a Meta-analytic Review. British Journal of Social Psychology, 40, 471-499.
Attila, S. & Çakir, B. (2011). Energy-drink consumption in college students and associated factors. Nutrition, 27, 316–322.
Babu, K. M., Church, R. J., & Lewander, W. (2008). Energy drinks: The new-opener for adolescents. Clinical Pediatric Emergency Medicine, 9, 35-42. doi:10.1016/j.cpem.2007.12.002
Cochran, W.G. (1977). The estimation of sample sizes. In: Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons, Inc, 72-86.
Heckman M.A., Sherry K., & Gonzalez de Mejia E. (2010). Energy drinks: an assessment of their market size, consumer demographics, ingredient profile, functionality, and regulations in the United States. Comp. Rev. Food Sci. Food Saf., 9, pp. 303-317.
Ibrahim, N.K. & Iftikhar, R. (2014). Energy drinks: Getting wings but at what health cost?. Pak J Med Sci, 30(6), 1415-1419.
Itany, M., Diab, B., Rachidi, S., Awada, S., Al Hajje, A., Bawab, W., & Salameh, P. (2014). Consumption of energy drinks among lebanese youth: a pilot study on the prevalence and side effects. International journal of high risk behaviors & addiction, 3(3), e18857.
Malinauskas BM, Aeby VG, Overton RF, Carpenter-Aeby T, & Barber-Heidal K. (2007). A survey of energy drink consumption patterns among college students. Nutr J., 6: 35-41.
Olsen, N.J., & Heitmann, B,L. (2009). Intake of calorically sweetened beverages and obesity. Obes Rev, 10(1):68-75.
Rı´os JL, Betancourt J, Paga´n I, Fabia´n C, Cruz SY, Gonza ´lez AM, Gonza´lez MJ, Rivera-Soto WT, Palacios C. Caffeinated-beverage consumption and its association with socio-demographic characteristics and self-perceived academic stress in first and second year students at the University of Puerto Rico Medical Sciences Campus (UPR-MSC). P R Health Sci J. 2013;32:95–100.
Seifert, S. M., Schaechter, J. L., Hershorin, E. R., & Lipshultz, S. E. (2011). Health effects of energy drinks on children, adolescents and young adults. Pediatrics, 127, 511-528.
Thorlton J. & Collins W.B. (2018). Underlying beliefs associated with college student consumption of energy beverages. Western Journal of Nursing Research, 40(1), 5 – 19.