สื่อส่งเสริมความปลอดภัยเพื่อการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มยุวเกษตรกร จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ชัชชัย ธนโชคสว่าง
สรา อาภรณ์
กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์
เอกพล กาละดี
กุณฑลีย์ บังคะดานรา

บทคัดย่อ

การใช้สื่อส่งเสริมความปลอดภัยในรูปแบบสื่อดิจิทัลเป็นกลไกในการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลซึ่งจำเป็นต่อการยกระดับเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง ในการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการส่งเสริมความปลอดภัยผ่านสื่อส่งเสริมความปลอดภัยซึ่งติดตั้งอยู่ในร้านเคมีเกษตรเพื่อส่งเสริมการใช้สารเคมีเกษตรอย่างปลอดภัย การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกรและยุวเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรีผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเองผ่านสื่อดิจิทัล เกษตรกร 59  คนและยุวเกษตรกร 62 คนเป็นอาสามัครเข้าร่วมการทดสอบสื่อนี้ ผลการศึกษาวิจัยพบว่าทั้งกลุ่มเกษตรกรและยุวเกษตรกรมีคะแนนความรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สื่อส่งเสริมความปลอดภัยสามารถช่วยให้เกษตรกรและยุวเกษตรกร มีความรู้มากขึ้นและสามารถนำไปปรับปรุงการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). Mobile Application. สืบค้นจากhttps://www.moac.go.th/ service_all-mobile_app

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 –2564. (พิมพ์ครั้งที่1) กรุงเทพฯ.

กฤติญา แสงภักดี, กัญจน์ ศิลปะสิทธิ์, ดวงรัตน์ แพงไทย, วสินี ไขว้พันธ์, ศิรินภา ศิริยันต์, และภัทรพงษ์ เกริกสกุล.(2557). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชของชาวนา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. แก่นเกษตร, 42(3), 375-384.

กุณฑลีย์ บังคะดานรา, ชัชชัย ธนโชคสว่าง, และเอกพล กาละดี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(2), 1-8.

กรมวิชาการเกษตร สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรปี 2554 -2561. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/.

ไชยนันต์ แท่งทอง, แพรวพรรณ คงนิล, อิงอร ปัญญากิจ, ประทีป อารยะกิตติพงศ์, กุลพิพิทย์ จันทร์บวย, สุธาวัลย์ สิทธิวิชชาพร, สมฤดี ฤดีเจริญสกุล, และสรา อาภรณ์. (2560). การปรับปรุงประสิทธิภาพ การกำกับดูแลร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตร. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 199-207.

ณัฏฐภัทร์ กิ่งเนตร และณัฐนรี มณีจักร. (2562). ความเหลื่อมล้ำมิติอาชีพของไทย: กรณีศึกษาในอาชีพเกษตร,ธนาคารแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

เนตรชนก เจริญสุข. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. Naresuan University Journal: Science And Technology (NUJST), 24(1), 91-101.

น้ำเงิน จันทรมณี. (2560). พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและประสิทธิผลของการให้อาชีวสุขศึกษาที่มาผลต่อความรู้ทางด้านความปลอดภัยของเกษตรกรพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดพะเยา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 37, 35-45.

พุทธมาศ ส่งคืน, จตุพร เหลืองอุบล และสุทธิศักดิ์ แก้วแกมจันทร์. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(2), 82-92.

ภาสกร นันทพาณิช. (2559) .การประเมินความรู้ และการปฏิบัติที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกเผือกในอำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี. แก่นเกษตร, 44(1), 43-54.

รัตนา มูลนางเดียว. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพฯ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 33(3),98-114.

สิทธิพร เกษจ้อย. (2560). บทบาทการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลโนนท่อน อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 163-174.

สุนทรี ปลั่งกมล. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมการให้ความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตร.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. บทสรุปสำหรับผู้บริหารภาวะการทำงานของประชากร เดือนมกราคม 2563. สืบค้นจากhttp://www.nso.go.th/.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2561). สถานการณ์ปัญหาโรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. สืบค้นจาก http://envocc.ddc.moph.go.th/

Faysse, N., Phiboon, K., & Filloux, T. (2019). Public policy to support young farmers in Thailand.Outlook on agriculture. Retrieved from http://doi:10.1177/003072701988018.

Goontalee Bangkadanara, Chatchai Thanachoksawang, Sara Arphorn. (2017). Self-Evaluation for Work Improvement among Vermicomposting Disabled-Farmers, Journal of Safety and Health, 10(35), 1-9.

Hambleton RK, Swaminathan H, Algina J, Coulson DB. (1978). Criterion-Referenced Testing and Measurement:A Review of Technical Issues and Developments.Review of Educational Research, 48(1), 1-47.