ระดับการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และปัจจัยจากการทำงานในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง เพศชาย ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กิตติทัต สุดชู
ไชยนันต์ แท่งทอง
วราภรณ์ คำยอด
สรา อาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างเพศชาย 69 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการทำงาน และแบบประเมินการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโดยใช้มาตรวัดความปวดด้วยสายตาในการประเมินระดับการปวดส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจากการทำงาน กับระดับการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างส่วนใหญ่มีอาการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งพบระดับการปวดในระดับเล็กน้อยสูงสุดร้อยละ 34.8 รองลงมาคือ ระดับการปวดปานกลางร้อยละ 30.4 ไม่ปวดร้อยละ 27.5 และระดับการปวดรุนแรงร้อยละ 7.2 ส่วนของร่างกายที่พบการปวดมากที่สุดคือ บริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 34.8 และ 2) การศึกษานี้แสดงข้อมูลที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปวดกับชั่วโมงการนอนหลับ (r = 0.245,  p < 0.05) ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างควรได้รับการสื่อสารเรื่องสถานการณ์ระดับการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกและชั่วโมงการนอนหลับที่เหมาะสม จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานด้านแรงงาน และกรมการขนส่งทางบก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2561). จำนวนวินและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในเขต กทม. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2562). จำนวนวินและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในเขต กทม. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2563, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents?g=11

ทศพล เธียรวิภาสวงศ์. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในกลุ่มแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

ธนัชพร ทับรอด, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ, เด่นศักดิ์ ยกยอน, และ สรา อาภรณ์. (2562). สถานการณ์สุขภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้สึกไม่สบายบริเวณหลังส่วนล่าง ในกลุ่มพนักงานขนส่งสินค้า ในบริษัทขนส่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารการยศาสตร์ไทย, 2(2), 9-18.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2562, จาก https://www.hiso.or.th/hiso5/report/report9.php

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). สำนักงานสถิติฯ เผยสำรวจแรงานนอกระบบ 2561. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษจิกายน 2562, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/ Pages/ News/2562/N25-02-62-2.aspx

Alghadir, A. H., Anwer, S., Iqbal, A., & Iqbal, Z. A. (2018). Test-retest reliability, validity, and minimum detectable change of visual analog, numerical rating, and verbal rating scales for measurement of osteoarthritic knee pain. J Pain Res, 11, 851-856.

Andersen, L. L., Fallentin, N., Ajslev, J. Z., Jakobsen, M. D., & Sundstrup, E. (2017). Association

between occupational lifting and day-to-day change in low-back ] pain intensity based on company records and text messages. Scand J Work Environ Health, 43(1), 68-74.

Berrones Sanz, L. (2018). The working conditions of motorcycle taxi drivers in Tláhuac, Mexico City. Journal of Transport & Health, 8, 73-80.

Curran, M., O'Sullivan, L., O'Sullivan, P., Dankaerts, W., & O'Sullivan, K. (2015). Does Using a Chair Backrest or Reducing Seated Hip Flexion Influence Trunk Muscle Activity and Discomfort A Systematic Review. Hum Factors, 57(7), 1115-1148.

Edwards, R. R., Almeida, D. M., Klick, B., Haythornthwaite(1)A., & Smith, M. T. (2008). Duration of sleep contributes to next-day pain report in the general population. Pain, 137(1), 202-207.

Jaiyesimi, A., Areoye, O., Olagbegi, O., Bolarinde, S., & Uduonu, E. (2018). Work-related musculoskeletal disorders and predisposing factors among commercial motorcyclists in Ibadan North Local Government Area, Nigeria. Occupational health Southern Africa, 24(3), 73-78.

Jongprasitkul, N., Konchalard, K., & Sinthoppong, K. (2016). Prevalence and associated factors of low back pain among motorcycle taxi drivers in Sriracha. Chula Med J, 60(1), 31-43.

Lee, Y., Kim, G.-H., Bae, I., Park, H.-J., Wang, S., & Kwon, S. (2018). The cut-off analysis using visual analogue scale and cepstral assessments on severity of voice disorder. Logopedics Phoniatrics Vocology, 43, 1-6.

Macdonald, W., & Oakman, J. (2015). Requirements for more effective prevention of work-related musculoskeletal disorders. BMC Musculoskelet Disord, 16(1), 293.

Md Isa, M. H., Sarani, R., Paiman, N., & Wong, S. V. (2011). Prevalence and Risk Factors of Musculoskeletal Disorders of Motorcyclists. Malaysian Journal of Ergonomics, 1, 1-10.

NACHEMSON, A. (1966). The Load on Lumbar Disks in Different Positions of the Body. Clinical Orthopaedics and Related Research, 45, 107-122.

National Institute for Occupational Safety and Health. (2019). Musculoskeletal Health Program. Retrieved September 25, 2019, from https://www.cdc.gov/niosh/programs/msd/default.html

Noda, M., Malhotra, R., DeSilva, V., Sapukotana, P., DeSilva, A., Kirkorowicz, J., Ostbye, T. (2015). Occupational risk factors for low back pain among drivers of three-wheelers in Sri Lanka. Int J Occup Environ Health, 21(3), 216-224.

O'Sullivan, K., McCarthy, R., White, A., O'Sullivan, L., & Dankaerts, W. (2012). Lumbar posture and trunk muscle activation during a typing task when sitting on a novel dynamic ergonomic chair. Ergonomics, 55(12), 1586-1595.

O'Sullivan, K., McCarthy, R., White, A., O'Sullivan, L., & Dankaerts, W. (2012). Can we reduce the effort of maintaining a neutral sitting posture? A pilot study. Manual therapy, 17, 566-571.

Pope, M. H., Goh, K. L., & Magnusson, M. L. (2002). Spine ergonomics. Annu Rev Biomed Eng, 4, 49-68.

Pradip, B., Sudhir, B., & Nidhi, B. (2018). Prevalence of tightness in hip muscles in middle aged Indian men engaging in prolonged desk jobs: A descriptive study. Int. J. Phys. Educ.Sports Health, 5(2), 15-21.

Subramaniyan, R., & Patel, T. (2017). Evaluation of driving-related musculoskeletal disorders

in motorbike riders using Quick Exposure Check (QEC). Biomedical Research, 28, 1962.

World Health Organization. Water, S., & Health, T. (2004). Guidelines for drinking-wate quality. Vol. 1, Recommendations. In (3rd ed ed.). Geneva: World Health Organization.