ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร ของกลุ่มแรงงานเมียนมาในจังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเชื่อด้านสุขภาพ และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักร รูปแบบการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 323 คน ที่ผ่านการคัดเข้าด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การศึกษาครั้งนี้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยบูรพา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายปิด พบว่า คนงานพม่าในจังหวัดสมุครสาครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.8 มีอายุอยู่ในช่วง 17-48 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 39.6 ร้อยละ 53.9 มีประสบการณ์การทำงานกับเครื่องจักร 1-5 ปี
จากการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่าความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ต่ออุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักร จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่า ควรสร้างเสริมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพ ผ่านผู้มีประสบการณ์เพื่อสร้างการรับรู้เพื่อที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรต่อไป
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในชาวประมงไทยและพม่า กรณีศึกษา: แพปลาแห่งหนึ่ง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารควบคุมโรค. 44(3), 249-257.
2. ธนกร สิริธร. (2560). พฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาแรงต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในโรงงานย่านมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรงุเทพ, กรุงเทพมหานคร.
3. ภัทรนันต์ แซ่ชี. (2558). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
4. ศิริขวัญ ศรีสมศักดิ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบรพา, ชลบุรี
5.สร้อยสุดา เกสรทอง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์ และรัชนีวรรณ คุณูปกร. (2560). ปัญหาสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ (แรงงานต่างด้าว) จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารควบคุมโรค. 43(3), 255-269.
6. สำนักงานประกันสังคม. (2559). ข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน. เข้าถึงเมื่อ 11 เมษายน 2563, จาก https://www.sso.go.th/wpr/main/sub_category_list-label_1_169_748.
7. สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2562). ข้อมูลรายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสมุทรสาครรายปี 2562. เข้าถึงเมื่อ 11 เมษายน 2563, จาก https://samutsakhon.mol.go.th/news_group /Labour situation.
8. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2562). ข้อมูลสถิติการทำงานของคนต่างด้าว. เข้าถึงเมื่อ 11 เมษายน 2563, จาก https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/76/pull/
subcategory/view/list-label.
9. Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc.
10.Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
11. Rosenstock, I.M. (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs, 2, pp. 328-335.
12. Srivirojana, N., Punpuing, S., Robinson, C., Sciortino, R., & Vapattanawong, P. (2014). Marginalization, morbidity and mortality: a case study of Myanmar migrants in Ranong province, Thailand. Journal of Population and Social Studies, 22 (1), 35-52.