ต้นทุนต่อหน่วยของหน่วยบริการปฐมภูมิ กรณีศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร ปีงบประมาณ 2561

Main Article Content

กิตติพร เนาว์สุวรรณ
วิน เตชะเคหะกิจ
นภชา สิงห์วีรธรรม
ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการต้นทุนต่อหน่วยและกิจกรรมการให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ เก็บข้อมูลระบบบริการและต้นทุนรวมจากหน่วยบริการปฐมภูมิ 3 แห่งใน จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวมทั้งสิ้น 6 แห่ง ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เก็บข้อมูล ทุติยภูมิทั้งหมดของ รพ.สต.และต้นทุนที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลกำแพงเพชร ประกอบด้วยต้นทุน 3 ส่วน ต้นทุนทุติยภูมิได้แก่ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนลงทุน ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมและต้นทุนต่อหัวประชากร วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยด้วยการหารด้วยผลผลิตที่เกี่ยวข้องในส่วนของต้นทุนนั้น


ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนต่อหน่วยการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกเรื้อรังโดยแพทย์และไม่ใช่แพทย์เท่ากับ 813.9 และ 189.8 บาทต่อราย ตามลำดับ ต้นทุนต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไปโดยแพทย์และไม่ใช่แพทย์เท่ากับ 420.7 และ 75.9 บาทต่อราย ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยของหน่วยบริการปฐมภูมิที่ประกอบด้วย รพ.สต. 1, 2 และ 3 แห่ง เท่ากับ 584.2, 808.3, และ1,114.7 บาท ตามลำดับ


การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงต้นทุนของการบริการผู้ป่วยนอกที่เพิ่มขึ้นเมื่อแพทย์เป็นผู้ให้บริการ เมื่อเทียบกับ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่แพทย์ นอกจากนี้ การเพิ่มจำนวนของ รพ.สต.ต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ อาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนต่อหน่วยของหน่วยบริการปฐมภูมิอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

Thailand Citation Index Centre

References

กรมบัญชีกลาง. (2557). แนวทางการคำนวณต้นทุนผลผลิตของงานบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ.

กลุ่มงานประกันสุขภาพ. (2556). คู่มือการศึกษาต้นทุนหน่วยบริการ. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, และ อุทมพร วงษ์ศิลป์. (2561). ต้นทุนเครือจ่ายบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพ 8. วารสารระบบสาธารณสุข, 12(4), 681-690.

ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, อุทุมพร วงษ์ศิลป์, กัญจนา ติษยาธิคม, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ์, และ นำพร สามิภักดิ์. (2562). ต้นทุนการจัดบริการของคลินิกหมอครอบครัว. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(2), 175-187.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562.

วิน เตชะเคหะกิจ. (2558). หลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดดูเคชั่น.

วิน เตชะเคหะกิจ. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่แผนผู้ป่วยนอกเทียบระหว่างกองทุนประกันสุขภาพของรัฐ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(2), 284-295.

วิน เตชะเคหะกิจ, นภชา สิงห์วีรธรรม, และ ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน. (2561). ต้นทุนบริการและผลกระทบทางงบประมาณของโปรแกรมภาคบังคับของภาครัฐในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิกแอนดิไซน์.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการศึกษาต้นทุนสถานบริการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2563). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

อุทุมพร วงษ์ศิลป์, อาณัติ วรรณศรี, พัชนี ธรรมวันนา, ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย, ขัวญประชา เชียงไชยสกุลไทย, และ ถาวร สกุลพาณิชย์. (2559). ต้นทุนการจัดบริการต่อหัวประชากรของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารระบบสาธารณสุข, 10(3), 307-320.

Costa, J. S. D. d., Fuchs, S. C., Olinto, M. T. A., Gigante, D. P., Menezes, A. M., Macedo, S., & Gehrke, S. (2002). Cost-effectiveness of hypertension treatment: a population-based study. Sao Paulo Medical Journal, 120(4), 100-104.

Mullins, C. D., Blak, B. T., & Akhras, K. S. (2002). Comparing Cost-Effectiveness Analyses of Anti-Hypertensive Drug Therapy for Decision Making: Mission Impossible? Value in health, 5(4), 359-371.

Odell, T., & Gregory, M. (1995). Cost of hypertension treatment. Journal of General Internal Medicine, 10(12), 686-688.