ความรู้และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ของประชากรวัยทำงาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

อาภาพร กฤษณพันธุ์
วัชรินทร์ โกมลมาลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคระห์แบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยของประชากรวัยทำงาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวัยทำงาน อายุระหว่าง 20-59 ปี ซึ่งถูกเลือกแบบบังเอิญ จำนวน 356 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.67 (± 11.75) ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี การปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยน้อยกว่าร้อยละ 50 การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวกับอาหารปลอดภัย และการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย (ร้อยละ 12.05) (adjusted R2 = 0.1205, F(7,348)= 7.95, p-value<0.0001) โดยที่ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการฏิบัติตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = 0.91, p-value < 0.0001) ในขณะที่การศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์เชิงลบกับการฏิบัติตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -2.16, p-value < 0.05) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยทำให้มีการปฏิบัติตัวในเรื่องอาหารปลอดภัยดี ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอาหารปลอด ภัยควรให้ความรู้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีการปฏิบัติตัวเรื่องอาหารปลอดภัยที่ถูกต้องมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2554). กรมอนามัย เตือนอันตรายตะกั่วจากหม้อก๋วยเตี๋ยวด้อยคุณภาพชี้พิษสะสมมากเสี่ยงอัมพาต. กรมอนามัย. https://www.old.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=2818&filename=index

กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). Health Data Center (HDC). กระทรวงสาธารณสุข. https://hdcservice.moph.go.th/

กวินนา เกิดสลุง. (2562). โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea). ใน นายแพทย์ฐิติพงษ์ ยิ่งยง (บรรณาธิการ), สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2562. (หน้า 222-226). BOE Apps. https://apps.doe.moph.go.th/boeeng/download/MIX_AESR_2562.pdf

กาญจนา เมณฑ์กูล. (2562). โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning). ใน นายแพทย์ฐิติพงษ์ ยิ่งยง (บรรณาธิการ), สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2562 (หน้า 218-221). กรมควบคุมโรค.https://apps.doe.moph.go.th/boeeng/download/MIX_AESR_2562.pdf

นฤมล วงทะนงค์. (2555). อิทธิพลของรูปแบบฉลากโภชนาการในการรับรู้ของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์ และอุบล จันทร์เพชร. (2019). พฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงาน อายุ 15-59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 5. Chophayom Journal, 30 (1), 153-164.

สสส.เตือนอีกไม่เกิน15ปีวัยทำงานแบกภาระเลี้ยงผู้สูงอายุ-เด็ก. (2560). POST TODAY. https://www.posttoday.com/social/general/490983

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2553). การประเมินผลโครงการอาหารปลอดภัยของกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค ปี 2553. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (ม.ป.ป.). น้ำมันทอดซ้ำ อันตรายก้นครัว. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. https://www.fda.moph.go.th/sites/food/KM/oil/ FryingOil3.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ประชากรจากทะเบียน / การเกิด / การตาย. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries01.html

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (ม.ป.ป.). สรุปสถานการณ์โรค. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. จาก http://www.spo.moph.go.th/web/dcdc

สุพัตรา คงจริง. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารของผู้ประกอบการขายอาหารทอดใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 13(1), 50-56.

อุไรพร สอนสุภาพ, อนุสรา ศรีภา, จิรา คงปราณ, และ ประเสริฐ มากแก้ว. (2563). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของการได้รับสัมผัสกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกจากการบริโภคก๋วยเตี๋ยว ในนักศึกษามหาวิทยาลัย. Thai Journal of Toxicology, 35(1), 22-34.

Bloom B. S., Hastings J. T., & Madaus G. F. (1971). Handbook on formative and summative assessment of student learning. McGraw-Hill.

Fox N., Hunn A., & Mathers N. (2009). Sampling and sample size calculation. The NIHR RDS for the East Midlands Division of Primary Care.

Langiano E., Ferrara M., Lanni L., Viscardi V., Abbatecola A. M., & De Vito E. (2012). Food safety at home: Knowledge and practices of consumers. Journal of Public Health, 20(1), 47–57.

Lumpo W., Sripichyakan K., & Phianmongkhol Y. (2018). Food Safety Knowledge and Behavior Among Pregnant Women. Nursing Journal, 45(2), 112–123.

Manadee P., Sripichyakan K., & Phianmongkhol Y. (2018). Perceived Risks, Perceived Barriers, and Safe Food ConsumingBehavior among Pregnant Women. Journal of Nursing And, 36(2), 176–184.

Mirzaei A., Nourmoradi H., Zavareh M. S. A., Jalilian M., Mansourian M., Mazloomi S., Mokhtan N., & Mokhtari F. (2018). Food safety knowledge and practices of male adolescents in west of Iran. Open Access Macedonian Journal of Medical Sciences, 6(5), 908–912.

Ncube F., Kanda A., Chijokwe M., Mabaya G., & Nyamugure T. (2020). Food safety knowledge, attitudes and practices of restaurant food handlers in a lower-middle-income country. 1677–1687.

Sayuti Y. A., Albattat A., Ariffin A. Z., Nazrin N. S., & Tengku Silahudeen T. N. A. (2020). Food safety knowledge, attitude and practices among management and science university students, Shah Alam. Management Science Letters, 10(4), 929–936.

World Health Organization, (2018). Food safety: Why educate the consumer? The Five Keys to Safer Food Programme, 34–35.

World Health Organization. (2019, April 1). WHO | Food safety. Fact Sheets. World Health Organization. https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/food-safety.

Zyoud S. E., Shalabi J., Imran K., Ayaseh L., Radwany N., Salameh R., Sa dalden Z., Sharif L., Sweileh W., Awang R., & Al-Jabi S. (2019). Knowledge, attitude and practices among parents regarding food poisoning: a cross-sectional study from Palestine. BMC public health, 19(1), 1-10.