ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สกุลรัตน์ โทนมี
รัชนีกร จันสน
วิภาดา ศรีเจริญ
พิสมัย กลอนกลาง
นงลักษณ์ เจริญไพบูลย์ลาภ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติแบบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


          ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับสูง จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยพบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ระบบสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยและปัจจัยเสริม ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ผลจากการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย จึงควรมีการจัดโครงการอบรมส่งเสริมองค์ความรู้ให้กลุ่มตัวอย่างได้มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากขยะมูลฝอยมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศ ไทยปี พ.ศ 2560. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562,จาก http://www.pcd.go.th/file/02- 03-60.pdf.

กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศ ไทยปี พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www. pcd.go.th/file/Thailand%20Pollution%20Report%202018_Thai.pdf.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ณัฐวุฒิ ผดุงเพียร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

สุกันยา บัวลาด. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ครั้งที่ 2, 1349-1360.

องค์การบริหารส่วนตำบลตะเบาะ. (2561). ประชากร. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2562,จาก https://www.taboh.net/index.php.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2549). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York : McGraw-Hill.

Best, J. W. (1997). Research in education. (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implemen-tation and Evaluation. New York: Cornell University Press.

Green, L.W., and Kreuter, M.W. (2005). Health promotion planning: An educational and ecological approach. New York: McGraw-Hill Higher Education.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychologi-cal Measurement, 30(3), 607-610.