การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้รื้อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่สัมผัสโลหะหนักผ่านทางผิวหนัง ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์
กมลทิพย์ ขันชะลี
ณิธารีย์ สารทพันธุ์
คคนานต์ โกญจนาวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานรื้อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์จากการสัมผัสโลหะหนักผ่านทางผิวหนังในพื้นที่ตำบลแดงใหญ่ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำการเก็บตัวอย่างฝุ่นที่เกาะติดมือของผู้ปฏิบัติงานก่อนทำงานตอนเช้า หลังทำงานตอนเช้าและบ่าย และหลังจากล้างมือเมื่อทำงานเสร็จด้วยเทคนิคการเช็ดมือโดยใช้ผ้าก๊อซชุบไอโซ-โพรพานอลความเข้มข้น 20% โดยปริมาตร


ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยของสารหนู ตะกั่ว ทองแดง แคดเมียม นิกเกิล และสังกะสีในฝุ่นที่ติดอยู่บนมือของคนงานระหว่างปฏิบัติงานมีค่าระหว่าง 0.02 – 8.44, 81.50 – 6,038.26, 785.43 – 49,899.31, 2.00 – 63.25, 81.50 – 188.36 และ 2,592.91– 40,722.91 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารไม่ก่อมะเร็งพบว่า ค่าสัดส่วนความเสี่ยงอันตรายของสารหนูมีค่าสูงที่สุด มีช่วงความเชื่อมั่น 95% เท่ากับ 0.263 – 0.530 และตะกั่วมีค่าต่ำสุด เท่ากับ 1.00× 10-9 - 2.70 × 10-9 ซึ่งค่าสัดส่วนความเสี่ยงอันตรายของโลหะทุกชนิดมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงถึงการรับสัมผัสโลหะหนักผ่านการสัมผัสด้วยมือยังไม่พบโอกาสที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติงานรื้อแยกควรทำความสะอาดมือหลังการทำงานทุกครั้งด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีสารซักล้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการชะล้างโลหะหนักที่ตกค้างที่มือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค. (2557). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง กรณีขยะอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2560). การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

สุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2558). สถานการณ์ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์. ใน เอกสารประกอบการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ขยะอิเล็กทรอนิกส์: จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย”. วันที่ 12 มิถุนายน 2558, กรุงเทพ: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bi, X., Simoneit, B. R., Wang, Z., Wang, X., Sheng, G., & Fu, J. (2010). The major components of particles emitted during recycling of waste printed circuit boards in a typical e-waste workshop of South China. Atmospheric Environment, 44(35), 4440-4445.

Deng, W. J., Louie, P. K. K., Liu, W. K., Bi, X. H., Fu, J. M., & Wong, M. H. (2006). Atmospheric levels and cytotoxicity of PAHs and heavy metals in TSP and PM2. 5 at an electronic waste recycling site in southeast China. Atmospheric Environment, 40(36), 6945-6955.

Health Risk Assessment Guidance for Metals (HERAG). (2007). Assessment of Occupational Dermal Exposure and Dermal absorption for Metals and Inorganic Compound.Occupational dermal exposure and dermal absorption, HERAG.

Kaewrueng, P., Siriwong, W., & Siripanich, S. (2013). Risk assessment of heavy metal associated with dermal exposure in incense workers in small household factories at Roi-et province,Thailand. Journal of Health Research, 27(4), 217-223.

Lai, H. Y., Hseu, Z. Y., Chen, T. C., Chen, B. C., Guo, H. Y., & Chen, Z. S. (2010). Health risk-based assessment and management of heavy metals-contaminated soil sites in Taiwan. International journal of environmental research and public health, 7(10), 3595-3614.

Robinson, B. H. (2009). E-waste: an assessment of global production and environmental impacts. Science of the total environment, 408(2), 183-191.

Singh, M., Thind, P.S., & John, S. (2018). Health risk assessment of the workers exposed to the heavy metals in e-waste recycling sites of Chandigarh and Ludhiana,Punjab, India. Chemosphere, 203, 426-433.

United States Environmental Protection Agency (U.S. EPA). (1987). Arsenic, inorganic. Retrieved from: https://cfpub.epa.gov/ncea/iris/iris_documents/documents/subst/0278_summary.pdf

United States Environmental Protection Agency (U.S. EPA). (2009). Risk Assessment Guidance for Superfund Volume I: Human Health Evaluation Manual (Part F) Final. EPA-540-R-070-002. Office of Superfund Remediation and Technology Innovation, Environmental Protection Agency. Washington, D.C., U.S.EPA.

United States Environmental Protection Agency (U.S. EPA). (2004). Risk Assessment Guideline for Superfund Vol.1 Human Health Evaluation Manual (part E) Supplemental Guidance from Dermal Risk Assessment. Washington, D.C., U.S.EPA.

Wcisło, E., Ioven, D., Kucharski, R., & Szdzuj, J. (2002). Human health risk assessment case study: an abandoned metal smelter site in Poland. Chemosphere, 47(5), 507-515.