การประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับ ความร้อนจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ
รองศาสตราจารย์ ดร. สุนิสา ชายเกลี้ยง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อน ในเกษตรกรเพาะปลูก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 371 คน จากการสุ่มแบบคลัสเตอร์ในเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน - กันยายน พ.ศ.2562 ในเวลา 8.00 – 18.00 น. ด้วยการสัมภาษณ์ ตรวจวัดอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ วัดความชื้นและความเร็วลม ประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยโดยอาศัยเมตริกความเสี่ยงที่คำนึงถึงโอกาสและความรุนแรงของการป่วยจากความร้อน ทดสอบความสัมพันธ์ ใช้สถิติของเพียร์สันไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปลูกข้าว มีพื้นที่เพาะปลูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ไร่ มีการเข้าพักในที่ร่มขณะพักการปฏิบัติงานเฉลี่ย 29.94 นาที/ครั้ง ระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยมากกว่า 6-8 ชั่วโมง/วัน ระยะเวลาการทำงานต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักมากกว่า 120 นาที/วัน ความถี่ในการทำงานมากกว่า 4-7 วัน/สัปดาห์ พื้นที่ปฏิบัติงานมีระดับอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ เฉลี่ย 35.82 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด พื้นที่พักมีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ เฉลี่ย 33.27 องศาเซลเซียส ความเร็วลมขณะปฏิบัติงาน เฉลี่ย 1.38 เมตร/วินาที และขณะพักค่าเฉลี่ยความเร็วลม 1.11 เมตร/วินาที ความชื้นสัมพัทธ์ขณะปฏิบัติงานเฉลี่ย 54.40% ความชื้นสัมพัทธ์ขณะพักเฉลี่ย 58.52% เกษตรกรส่วนใหญ่มีภาระงานหนัก (มากกว่า 350 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง) (ร้อยละ 84.10)  ค่าเฉลี่ย 488.39 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง
การป่วยจากความร้อนที่พบบ่อยที่สุดคือ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ที่ขา แขน หรือท้อง ระดับโอกาสการป่วยจากความร้อนพบ ระดับ 2 (ร้อยละ 0.81)  ระดับ 3 (ร้อยละ 1.62)  และ ระดับ 4 (ร้อยละ 97.57) ความรุนแรงของการป่วยจากความร้อน มีอาการเล็กน้อย (ร้อยละ 17.25) อาการปานกลาง (ร้อยละ 29.92) อาการรุนแรง (ร้อยละ 18.06) และรุนแรงมาก (ร้อยละ 0.27) ระดับความเสี่ยงต่อการป่วยจากความร้อน พบระดับเสี่ยงต่ำ (ร้อยละ 34.50) เสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 18.87) เสี่ยงสูง (ร้อยละ 29.11) และเสี่ยงสูงมาก (ร้อยละ 17.52)  ระดับความเร็วลมในขณะปฏิบัติงาน ความชื้นสัมพัทธ์ในขณะปฏิบัติงานและขณะพัก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเชิงเส้นตรงในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับความเสี่ยง (r = - 0.145, r  = - 0.211 และ

r = - 0.194 ตามลำดับ) ดังนั้น เสนอแนะให้เกษตรกรที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงนั้นมีการลดภาระงานลง
โดยลดระยะเวลาทำงานและให้มีเวลาพักมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยจากความร้อนและในการศึกษาครั้งต่อไปควรขยายผลไปสู่การหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการป่วยจากความร้อนเพื่อการป้องกันการป่วยจากความร้อนในเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก พลท้าว, และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2555). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรจากการเพาะปลูกมะเขือเทศเก็บเมล็ดพันธุ์บ้านลาดนาเพียงตําบลสาวะถี อําเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 31–38.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2558). ฤดูกาลของประเทศไทย. ความรู้อุตุนิยมวิทยา, สืบค้น จากhttps://www.tmd.go.th/en/archive/thailand_climate.pdf

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์, และ วิไลพรรณ ใจวิไล. (2562). สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด. พยาบาลสาร, 46(1), 4–16.

ธัญญารัตน์ ทราบจังหรีด, และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2559). การเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับความร้อนของเกษตรกรตําบลตะขบ อําเภอปกธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 53–59.

ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ, สุนิสา ชายเกลี้ยง, และอนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์. (2562). ความชุกของการเกิดโรคจากความร้อนเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่น. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 11(3), 37-48.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้อง ดําเนินการ. (2561).

พงษ์เดช สารการ. (2558). ชีวสถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล: Stata10. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ราชกิจจานุเบกษา. (2559). กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก http://cste.sut.ac.th/csteshe/wp-content/lews/Law06.pdf

ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. (2562). ภูมิอากาศจังหวัดขอนแก่น. สืบค้นจาก http://climate.tmd.go.th/ data/province/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ภูมิอากาศขอนแก่น.pdf

สมจิต แดนสีแก้ว, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, และเกศินี สราญฤทธิชัย. (2558). ประสบการณ์ของชาวนาในการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำนา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(1), 134-144.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/ภาวะการทำงานของประชากร/2562/Report_02-62.pdf

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุมา ลางคุลเสน, และนันทวรรณ วิจิตรวาทการ. (2561). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความร้อนที่มีต่อเกษตรกรและพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(4), 680–693.

Bethel, J. W., & Harger, R. (2014). Heat-Related Illness among Oregon Farmworkers. Int. J.Environ. Res. Public Health, 2014(11), 9273–9285.

CDC. (2018). Heat Stress—Heat Related Illness. Retrieved from https://www.cdc.gov/niosh/topics/heatstress/heatrelillness.html

Chaiklieng, S., Pimpasaeng, C., & Thapphasaraphong, S. (2015). Benzene Exposure at Gasoline Stations: Health Risk Assessment. An International Journal, 21(8), 2213–2222.

Chen, X., & Liu, J. (2019). Global Heat Wave Hazard Considering Humidity Effects during the21st Century. Int. J. Environ. Res. Public Health, 16(1513), 1–11.

Crowe, J., Moya-Bonilla, J. M., n-Solano, B. R., & Robles-Ramı´rez, A. s. (2010). Heat exposure in sugarcane workers in Costa Rica during the non-harvest season. Global Health Action, 3(5619), 1–9.

Frimpong, K., Etten, E. V., Oosthuzien, J., & Nunfam, V. F. (2017). Heat exposure on farmers in northeast Ghana. Int J Biometeorol, (61), 397–406.

Meshi, E., Kishinhi, S., Mamuya, S., & Rusibamayila, M. (2018). Thermal Exposure and Heat Illness Symptoms among Workers in Mara Gold Mine, Tanzania. Annals of Global Health, 84(3), 360–368.

Mutic, A. D., Mix, J. M., Elon, L., Mutic, N. J., Economos, J., Flocks, J., Tovar-Aguilar, A. J., et al. (2018). Classification of Heat-Related Illness Symptoms Among Florida Farmworkers. Journal of Nursing Scholarship, 50(1), 74–82.

Occupational Safety and Health Administration. (2017). OSHA Technical Manual Section III: Chapter 4. Retrieved April 20, 2019, from, https://www.osha.gov/dts/osta/otm/otm_iii/otm_iii_4.html

Spector, J. T., Krenz, J., Rauser, E., & Bonauto, D. K. (2014). Heat-Related Illness in Washington State Agriculture and forestry sectors. American journal of industrial medicine, 57, 881–895.

Supharerk, T., Thammawijaya, P., Praekunnatham, H., & Siriruttanapruk, S. (2015). Situation of Heat-related Illness in Thailand, and the Proposing of Heat Warning System. OSIR, 8(3), 15–23.

Xiang, J., Bi, P., Pisaniello, D., & Hansen, A. (2014). Health Impacts of Workplace Heat Exposure: An Epidemiological Review. Industrial Health, 52, 91–101.