การปรับปรุงสถานีงานเพื่อลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในผู้ปฏิบัติงาน เย็บจักรอุตสาหกรรม

Main Article Content

ชลาลัย หาญเจนลักษณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสถานีงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ในผู้ปฏิบัติงานเย็บจักรอุตสาหกรรม และประเมินความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อผู้ปฏิบัติงานก่อนและหลังการปรับปรุงสถานีงาน โดยใช้แบบประเมินความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ (Body discomfort) การวัดสัดส่วนร่างกายด้วยเครื่อง Anthropometry เครื่องมือตรวจวัดระดับความเข้มแสงสว่าง Lux Meter และแบบประเมินระดับความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเฉลี่ยสูงสุดในช่วงเย็น บริเวณหลังส่วนบนด้านขวาระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.65 และหลังการปรับปรุงสถานีงาน      9 จุด คือ ที่พักแขนของเก้าอี้, เบาะรองนั่ง, ระดับความสูงของเก้าอี้, ที่พักเท้า, แผ่นยางกันสั่นสะเทือนของแป้นเหยียบจักร, ปลอกนิ้วลดอันตรายจากเข็มทิ่ม การ์ดป้องกันเข็มกระเด็น และระดับความเข้มแสงสว่าง พบว่ากล้ามเนื้อทุกส่วนอยู่ในระดับไม่มีความเมื่อยล้า คะแนนเฉลี่ย 1.75 (น้อยที่สุด) ระดับความเข้มข้นแสงสว่างแบบเฉพาะจุดเพิ่มขึ้นจากก่อนปรับปรุงมีค่าเฉลี่ย 53 ลักษ์ เป็นหลังปรับปรุงสถานีงานมีค่าเฉลี่ย 881 ลักษ์ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และระดับความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และสถานีงานอยู่ที่ระดับมากที่สุด สรุปได้ว่าการทำงานบริเวณสถานีงานใหม่ของผู้ปฏิบัติงานเย็บจักรอุตสาหกรรม มีผลทำให้ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อลดลงโดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนบนด้านขวา และผู้ปฏิบัติงานมีระดับความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุดต่ออุปกรณ์และสถานีงานใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย