การประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารไกลโฟเสตและผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรฉีดพ่นสารไกลโฟเสต

Main Article Content

กชกร อึ่งชื่น
สุนิสา ชายเกลี้ยง

บทคัดย่อ

ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในประเทศไทยมีโอกาสป่วยด้วยโรคพิษจากสารเคมีกำจัดวัชพืช  อำเภอน้ำพองถือเป็นพื้นที่หลักทางการเกษตรของจังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรฉีดพ่นสารไกลโฟเสต ด้วยการประยุกต์เมตริกประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพที่พิจารณาจากโอกาสการได้รับสัมผัสสารไกลโฟเสตและความรุนแรงของอาการหลังการใช้สารไกลโฟเสต โดยใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ในเกษตรกรอาสาสมัครทั้งสิ้น 243 คน พบว่า เกษตกรมีโอกาสการรับสัมผัสสารไกลโฟเสตระดับเล็กน้อยมากที่สุด (2 คะแนน) ร้อยละ 76.95  และผลกระทบต่อสุขภาพคือมีประวัติอาการผื่นคัน มากที่สุด ร้อยละ  9.47 โดยร้อยละ 65.43 เกษตรกรผู้ฉีดพ่นมีค่าความเสี่ยงยอมรับได้มากที่สุด (ระดับ 1) ซึ่งประสบการณ์ฉีดพ่นมากกว่าหรือเท่ากับสิบปี เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีสารไกลโฟเสต การไม่อาบน้ำทันทีภายใน 1 ชั่วโมงหลังฉีดพ่น สภาพอากาศมีเมฆปกคลุมหรือฝนตก และการไม่สวมถุงมือ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการแสดงหลังการใช้สารไกลโฟเสตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้และการป้องกันตนเองที่ถูกต้องในการฉีดพ่นสารไกลโฟเสต และจัดโปรแกรมการเฝ้าระวังทางสุขภาพให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ฉีดพ่นสารไกลโฟเสตในระยะยาวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุนิสา ชายเกลี้ยง

ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น