การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อาจรีย์ เชิดชู

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางสังคมจิตวิทยากับการเข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่ติดสังคมและติดบ้าน จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ไคสแควร์ และการถดถอยโลจิสติก ที่ระดับนัยสำคัญ 5% พร้อมทั้งหาค่า 95% CI ของ OR ผลการวิจัย พบผู้สูงอายุเพศหญิง (ร้อยละ 68.0) เป็นผู้สูงอายุวัยต้น (60-69 ปี) (ร้อยละ 65.5) มีอายุเฉลี่ย 68.1 ปี อาศัยอยู่โดยลำพัง (ร้อยละ 7.5) และมีสมาชิกเฉลี่ย 4 คนต่อครัวเรือน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่บ้านตนเองและนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 61.5) มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 62.5) เป็นผู้สูงอายุที่ยังทำงานอยู่  (ร้อยละ 75.0) มีการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน สำหรับบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย (ร้อยละ 72.5) เป็นบุคคลในครอบครัว และ (ร้อยละ 37.5) เป็นบุคลากรทางสาธารณสุข ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว (ร้อยละ 68.0) มีการรับรู้และการเข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 56.5  และ 59.0) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% คือ อายุ เพศ ศาสนา การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน โรคประจำตัว การได้รับการดูแลจากบุคลากรทางสาธารณสุขเมื่อเจ็บป่วย และการรับรู้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย