ปัจจัยด้านการยศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการความผิดปกติ ของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในเขตสุขภาพที่ 8

Main Article Content

kritkantorn1 suwannaphant

บทคัดย่อ

            การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเขตสุขภาพที่  8 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 535 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบจากกลุ่มประชากร  2,787 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ  แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการถดถอยพหุโลจิสติก พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI)


ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 47.61±8.92 ปี โดยมีอายุระหว่าง 23 ปี-67 ปี สถานภาพสมรส แต่งงาน(จดทะเบียนสมรส) ( ร้อยละ 66.54)  ศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 67.10)  รายได้เฉลี่ยต่อปี 88,274.77 ±84,178.77 บาท รายได้เฉลี่ยต่อปี สูงสุด 1,000,000 บาท ต่ำสุด 10,000 บาท  ภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 14.77) มีอาการเจ็บป่วยในขณะทำการเพาะปลูกสับปะรด (ร้อยละ 12.52) ปัจจัยการยศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ได้แก่ การทำงานในท่าเดิมมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็น 2.67 เท่า การทำงานในท่าทางซ้ำ ๆ มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็น 2.67 เท่า  และการทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมนานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็น 2.09 เท่าที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.001 ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยการประเมินความปลอดภัยของงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย