การจัดการของเสียชีวภาพและของเสียสารเคมีในห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

เสาวนีย์ สัตยดิษฐ์, ส.ม.
นิรวรรณ แสนโพธิ์, Ph.D. (Environmental Technology)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ของการเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การบำาบัด และ การกำาจัด รวมถึงศึกษาแนวทางการจัดการของเสียชีวภาพ และของเสียสารเคมีที่เกิดจากการทดลอง ทดสอบ และ วิจัยทางสัตวแพทย์ พื้นที่ศึกษาคือห้องปฏิบัติการภายใต้ ศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ และศูนย์เฝ้าระวัง และติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ประจำาห้องปฏิบัติการ และพนักงาน จัดเก็บของเสีย รวมทั้งหมด 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสำารวจ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย สำาหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้วิธีการจำาแนก เป็นความเรียงสำาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ปริมาณการเกิด และประเภทของเสียชีวภาพและของเสียสารเคมีพบว่า มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 205.5 และ 322.6 กิโลกรัม/เดือน โดยประเภทที่พบมากที่สุดจากของเสียแต่ละชนิดคือ ซาก ชิ้นส่วนตัวอย่างจากสัตว์ (ร้อยละ 54.01) และของเสีย ติดไฟ (ร้อยละ 82.52) ตามลำาดับ ประเด็นปัญหา และ อุปสรรคการจัดการของเสียชีวภาพ และของเสียสารเคมี ที่พบ คือ ขาดการสื่อสารนโยบายที่ชัดเจน ขาดคู่มือดำาเนินงาน ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขาดอุปกรณ์ในการจัดการของเสีย ไม่มีการจดบันทึกประเภทและปริมาณของเสีย มีการใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ไม่สม่ำาเสมอ และไม่มี การจัดอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการของเสียแก่เจ้าหน้าที่ ระดับปฏิบัติการ และพนักงานจัดเก็บของเสีย แนวทางการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการที่ เหมาะสมซึ่งได้จากการนำาผลการศึกษามาวิเคราะห์ร่วมกับ หลักวิชาการในการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ และ นำามาจัดทำาเป็นร่างแนวทางการจัดการของเสียที่เหมาะสม เสนอต่อกลุ่มประชากรศึกษาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น และร่วม พิจารณาความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา แนวทางการ จัดการของเสียในห้องปฏิบัติการสามารถสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ได้แก่ การกำาหนดให้มีนโยบายที่ชัดเจน และมีการ สื่อสารนโยบายสู่บุคลากรทุกระดับอย่างทั่วถึง การจัดให้มี คู่มือหรือระเบียบการปฏิบัติงาน การจัดให้มีห้องเก็บรวบรวม ของเสียส่วนกลางและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม และเพียงพอ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการจัดการ รวมทั้งการจัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบผลการดำาเนินงานอย่างสม่ำาเสมอและต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย