การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความชุกของกลุ่มอาการภาวะอ้วนลงพุงในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธาน

Main Article Content

วัลลภ วิชาญเจริญสุข
อรพรรณ ชัยมณี
นุจรีย์ ปอประสิทธิ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ความชุกของกลุ่มอาการภาวะอ้วนลงพุงและความสัมพันธ์ ระหว่างการเปลี่ยนแปลงความชุกของกลุ่มอาการภาวะ อ้วนลงพุงกับการเข้าร่วมโครงการลดโรค ลดพุง ปรับสมดุล เพื่อสุขภาพ


วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาค ตัดขวางในบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลนพรัตน- ราชธานีที่เข้ารับและมีผลการตรวจสุขภาพประจำาปีในปี 2552 และปี 2555 โดยจำาแนกประชากรเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการภาวะอ้วนลงพุงจากผลการตรวจสุขภาพ ปี 2552 และได้มีการเข้าร่วมโครงการลดโรค ลดพุง ปรับ สมดุลเพื่อสุขภาพ จำานวน 44 คน กับกลุ่มที่ไม่พบกลุ่ม อาการภาวะอ้วนลงพุงในปี 2552 และไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ลดโรค ลดพุง ปรับสมดุลเพื่อสุขภาพ จำานวน 307 คน โดยใช้เกณฑ์ของ NCEP ATPIII ในการวินิจฉัยกลุ่มอาการ ภาวะอ้วนลงพุง


ผลการศึกษา ความชุกของกลุ่มอาการภาวะอ้วน ลงพุงในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 12.5 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 12.3 ในปี 2555 โดยกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าได้กับกลุ่มอาการ ภาวะอ้วนลงพุงซึ่งมีจำานวน 44 คนในปี 2552 ได้ลดลงเหลือ 26 คน ในปี 2555 (ลดลงร้อยละ 40.9) และพบว่า ในกลุ่มนี้ มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิตและระดับไขมัน HDL-Cholesterol เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำาคัญ ทางสถิติ ส่วนในกลุ่มที่ผลการตรวจสุขภาพประจำาปี 2552 ไม่มีกลุ่มอาการภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งมีจำานวน 307 คน พบว่า มีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการภาวะ อ้วนลงพุงในปี 2555 จำานวน 17 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5) นอกจากนี้ยังพบว่า ในกลุ่มนี้มีค่าความดันโลหิตขณะหัวใจ บีบตัว ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว เส้นรอบเอว และ ระดับน้ำาตาลในเลือดขณะอดอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำาคัญ ทางสถิติ


สรุป ความชุกของกลุ่มอาการภาวะอ้วนลงพุงใน บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และโครงการลดโรค ลดพุง ปรับ สมดุลเพื่อสุขภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ที่ได้ดำาเนินการให้กับบุคลากรทางการแพทย์สามารถช่วยลด จำานวนบุคลากรที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการภาวะ อ้วนลงพุงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย