ตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำาหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

Main Article Content

เกษร จรรยารัตน์, พย.ม.
ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, กศ.ด.
วรรณี สัตยวิวัฒน์, คม. (สถิติการศึกษา)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (2) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการประเมินคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยใช้การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเลือกมาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม จำนวน 18 คน ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 5 คน พยาบาลปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 7 คน อาจารย์พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 4 คน และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 2 คน เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 รอบ รอบที่ 1 สอบถามผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์


ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาล 25 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 31 รายการ เป็นรายการที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 25 รายการ จำแนกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มสุขภาพการทำหน้าที่ของร่างกาย จำนวน 5 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 2 รายการ (2) กลุ่มสุขภาพสรีรวิทยา จำนวน 7 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 17 รายการ (3) กลุ่มสุขภาพจิตสังคมจำนวน 4 รายการ (4) กลุ่มสุขภาพความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 3 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 9 รายการ (5) กลุ่มสุขภาพการรับรู้สุขภาพ จำนวน 2 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 3 รายการ และ (6) กลุ่มสุขภาพครอบครัวหรือผู้ดูแล จำนวน 4 รายการ ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำตัวชี้วัด คุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาลไปใช้ ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย