การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุขภาพดิจิทัลในระบบสุขภาพปฐมภูมิเขตเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ วิจิตรเศรษฐกุล โรงพยาบาลราชบุรี https://orcid.org/0000-0001-9640-1009
  • นงนุช วงศ์สว่าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • ชลธิชา บุญศิริ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพปฐมภูมิ, สุขภาพดิจิทัล, ผู้สูงอายุ, เขตเมือง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ความต้องการ การพัฒนารูปแบบและการประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุด้วยสุขภาพดิจิทัลในระบบสุขภาพปฐมภูมิ เขตเมือง จังหวัดราชบุรี วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ศึกษาสถานการณ์และความต้องการตามมุมมองของผู้สูงอายุและผู้ให้บริการ พัฒนารูปแบบการดูแล ประเมินผลรูปแบบการดูแลและปรับปรุงรูปแบบการดูแล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ให้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลหน้าเมือง โดยมารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ คู่มือการดูแล รูปแบบการดูแล แบบสอบถามการเข้าถึงบริการสุขภาพและการใช้สุขภาพดิจิทัลในการดูแลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการเข้าถึงบริการสุขภาพและการใช้สุขภาพดิจิทัลในการดูแลสุขภาพ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ โดยใช้สถิติ Paired Samples t test ผลการศึกษา: พบว่า 1) สถานการณ์และความต้องการ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยฝึกปฏิบัติการใช้งานอย่างชัดเจนโดยใช้สถานการณ์จำลองหรือมีผู้ช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา มีคู่มือการใช้งาน มีอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในชุมชนและเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2) รูปแบบการดูแล มีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ 2.1) ด้านผู้รับบริการ ได้แก่ การยอมรับและศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2) ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ สมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความสามารถในการเป็นพี่เลี้ยงและความสามารถในการเป็นแอดมิน 2.3) ด้านการจัดบริการสุขภาพ ได้แก่ บริการแบบออนไลน์ประกอบด้วยการให้ความรู้สุขภาพ การให้คำแนะนำรายบุคคล การลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีน การตรวจรักษาและการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว บริการเสริมในรูปแบบสถานีสุขภาพในชุมชนและบริการแบบเดิมที่หน่วยบริการปฐมภูมิ 2.4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ไลน์ทางการศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง แอปพลิเคชันฮุกกะและแอปพลิเคชันหมอพร้อม 2.5) อุปกรณ์และสิ่งสนับสนุน ได้แก่ สมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ต คู่มือการใช้งาน อุปกรณ์ในสถานีสุขภาพ สื่อให้ข้อมูลและความรู้สุขภาพ 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น (0.51±0.61, 95%CI 0.31-0.70 P<0.001) และใช้สุขภาพดิจิทัลในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.16±0.95, 95%CI 0.85-1.46 P<0.001) สรุป: รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุขภาพดิจิทัลในระบบสุขภาพปฐมภูมิ เขตเมือง จังหวัดราชบุรี สามารถนำไปใช้ได้จริงและเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ มีข้อเสนอแนะว่าการนำรูปแบบไปใช้ ให้ยึดองค์ประกอบ ทั้ง 5 ด้าน โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติ การมีคู่มือการใช้งาน การมีแพทย์เป็นผู้นำทีมแอดมิน การมีพยาบาลวิชาชีพหรือนักวิชาการสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง และการมีสถานีสุขภาพในชุมชน

References

World Health Organization. Ageing and Health [Internet]. 2024 [cited 2024 Sep 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยในมิติความต่างเชิงพื้นที่ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สาธารณสุขมูลฐาน ระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว นิยาม ความหมายและความเชื่อมโยง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2552;1:11-5.

Penchansky R, Thomas JW. The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Med Care 1981;19(2):127-40.

World Health Organization. Global strategy on digital health 2020-2025. Geneva: World Health Organization; 2021.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580). กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2562.

Erku D, Khatri R, Endalamaw A, Wolka E, Nigatu F, Zewdie A, et al. Digital health interventions to improve access to and quality of primary health care services: a scoping review. Int J Environ Res Public Health 2023;20(19):6854.

Health Data Center. ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี ปีงบประมาณ 2567 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 พฤษภาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/yGaAw

Hsieh HF, Shannon SE. Three approaches to qualitative content analysis. Qual Health Res 2005;15(9):1277-88.

พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2567 กันยายน 1]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก (ลงวันที่ 30 เมษายน 2562) เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/pumPn

สุทิพย์ ประทุม, สรัญณี อุเส็นยาง. การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2565;6(1):1-18.

Schroeder T, Dodds L, Georgiou A, Gewald H, Siette J. Older adults and new technology: mapping review of the factors associated with older adults' intention to adopt digital technologies. JMIR Aging 2023;6:e44564.

Markert C, Sasangohar F, Mortazavi BJ, Fields S. The use of telehealth technology to support health coaching for older adults: literature review. JMIR Hum Factors 20218(1):e23796.

Wang X, Luan W. Research progress on digital health literacy of older adults: a scoping review. Front Public Health 2022;10:906089.

นิตยา คล่องขยัน. การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพรเจริญด้วยระบบ telemedicine. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม 2567;2(1):e267809.

Zhou B, Deng Q, Zhou S, Zhuo D. Health care in future community: innovatively discover and respond to the needs of today's seniors. Front Public Health 2023;11:1302493.

พัฒนาภรณ์ หาญคําภา. การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตโดยใช้สถานีสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของชุมชน อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2567;8(16):168-84.

สังวาลย์ วงศ์สมศักดิ์, พัฒน์สรณ์ บุราณรักษ์, ชญาภา เยยโพธิ์. การพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2567;5(2):268-81.

วิศปัตย์ ชัยช่วย. การใช้ LINE ของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 2560;(10)1:905-18.

สุภาภรณ์ บัญญัติ, สมฤดี อภิมา. ประสิทธิผลของการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการพยาบาลชุมชนในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กรณีศึกษาอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุข จังหวัดตาก 2567;4(2):33-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

1.
วิจิตรเศรษฐกุล ส, วงศ์สว่าง น, ธนะบุญปวง ป, บุญศิริ ช. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสุขภาพดิจิทัลในระบบสุขภาพปฐมภูมิเขตเมือง จังหวัดราชบุรี . JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 2 เมษายน 2025];14(3):556-7. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/275184