Publication Ethics

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมสำหรับผู้นิพนธ์

  1. ต้องเป็นบทความที่เขียนขึ้นใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่ส่งต้นฉบับซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
  2. เนื้อหาและคุณภาพของบทความเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร (ด้านเวชศาสตร์ป้องกัน)
  3. ต้องเสนอข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นจากการค้นคว้า หรือการศึกษาผลการวิจัยที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยสาระและความคิดเห็นในผลงานเขียนทั้งหมดถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์
  4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น หากมีการนำข้อความหรือนำเสนอผลงานผู้อื่นในบทความต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักการเขียนอ้างอิง
  5. ต้องทำการจัดรูปแบบของบทความตามที่วารสารกำหนดไว้ให้ถูกต้อง
  6. หากมีชื่อผู้ร่วมเขียนผลงานหลายคน ทุกคนจะต้องมีส่วนในการดำเนินการในบทความนั้นและรับผิดชอบร่วมกันทุกกรณี
  7. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทยต้องไม่นำผลงานไปตีพิมพ์ เผยแพร่กับแหล่งอื่น ๆ โดยเด็ดขาด
  8. หากเป็นการวิจัยในมนุษย์ ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แล้ว และแนบสำเนาใบรับรองต่อกองบรรณาธิการวารสารและลงรายการพิทักษ์สิทธิในของกลุ่มตัวย่างในบทความให้ชัดเจน

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของบรรณาธิการ

  1. กองบรรณาธิการวารสารประกาศการเก็บค่าสนับสนุนการตีพิมพ์บทความอย่างเปิดเผยชัดเจน บน website ของวารสารและในคำแนะนำของผู้นิพนธ์ ซึ่งจะเก็บเมื่อบทความนั้นได้รับการตีพิมพ์
  2. พิจารณาและตรวจสอบผลงานที่มีผู้เสนอ เพื่อรับการตีพิมพ์ โดยต้องพิจารณาว่ามีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลงานที่จะนำออกพิมพ์แต่ละฉบับ
  3. พิจารณาผลงานทุกเรื่องตามหลักวิชาการ และจริยธรรม โดยปราศจากอคติและความเห็นส่วนตัว
  4. ต้องจัดให้มีการแจ้งให้ผู้แต่งทราบและเข้าใจในกฎ กติกาในการนำเสนอผลงานในประเด็นต่าง ๆ
  5. รักษาความลับที่เป็นข้อมูลของเจ้าของ ผลงานและผู้ประเมินอย่างเคร่งครัด
  6. พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่เฉพาะบทความที่ผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเป็นสำคัญ
  7. ไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากการพิจารณาผลงานให้ได้รับการตีพิมพ์
  8. มีการตรวจสอบผลงานถึงการละเมิด หรือการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างเคร่งครัด และไม่รับพิจารณาผลงานที่มีการละเมิดสิทธิหรือคัดลอกผลงานผู้อื่น และพร้อม“ปฏิเสธ” การตีพิมพ์ผลงานนั้น ๆ ทันที
  9. จะต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ประเด็น สาระสำคัญของผลงาน และผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ
  10. การตอบรับ หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ยกเว้นตรวจพบข้อพิสูจน์ หรือปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่อาจทำให้กลับคำตัดสินให้ถือเป็นดุลยพินิจของบรรณาธิการ      

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  1. เป็นผู้พิจารณาคุณภาพบทความ ภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติ หรือความคิดเห็นส่วนตัว และต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
  2. ไม่เปิดเผยข้อมูลของผลงานที่รับการประเมิน
  3. ปฏิเสธการประเมินผลงานที่อาจมีส่วนได้ ส่วนเสีย หรือมีทัศนคติ เหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระใต้ต่อผลงานชิ้นนั้น ๆ
  4. ตอบรับการประเมินเฉพาะในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ตระหนักว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่รับประเมินอย่างแท้จริง และต้องพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในผลงาน ที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ เกี่ยวกับคุณภาพ โดยปราศจากการใช้ความคิด เห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลงาน
  5. ต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนดอย่างเหมาะสม