ผลการตรวจคัดกรองวัณโรคปอดในผู้ต้องขังในเรือนจำปิดแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2564 - 2566
คำสำคัญ:
คัดกรองวัณโรค, เรือนจำ, ปัจจัยเสี่ยง, โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาการคัดกรองวัณโรคตามขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณอัตราตรวจพบและระบุปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรครายใหม่ ในเรือนจำปิดแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างปี 2564 - 2566 จำนวน 1,240, 1,358 และ 1,365 คนตามลำดับ วิธีการศึกษา: ใช้การถ่ายภาพรังสีทรวงอกผู้ต้องขังทุกรายและส่งเสมหะตรวจด้วย Xpert MTB/RIF ในรายที่ภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติเข้าได้กับวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นวัณโรคโดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกด้วยสถิติไคสแควร์ อัตราเสี่ยง และการประมาณค่าช่วงเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: วิจัยพบว่าเป็นเพศชายทั้งหมด อยู่ในกลุ่มอายุ 20 - 39 ปีร้อยละ 49.8 มีระยะเวลาถูกคุมขังระหว่าง 5 - 10 ปี ร้อยละ 50.8 มีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นวัณโรคร้อยละ 3.3 เคยป่วยเป็นวัณโรคมาก่อนร้อยละ 5.5 มีโรคประจำตัวร้อยละ 10.3 และเคยสูบบุหรี่ร้อยละ 51.6 จากการคัดกรองภาพถ่ายรังสีทรวงอกรายปีพบว่ามีความผิดปกติเข้าได้กับวัณโรค ร้อยละ 7.0, 3.5 และ 8.4 ตามลำดับ ตรวจเสมหะพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ร้อยละ 20.7, 2.1 และ 14.9 ตามลำดับ และพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เฉลี่ย 923 ต่อประชากรแสนคสรุป: ปัจจัยเสี่ยงคือ บุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นวัณโรค อายุน้อยกว่า 40 ปี เคยมีประวัติสูบบุหรี่ และระยะเวลาคุมขังมากกว่า 10 ปี ดังนั้นผู้ต้องขังควรได้รับการคัดกรองวัณโรคอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะผู้ต้องขังกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง
References
World Health Organization. Global tuberculosis report 2019. Geneva: World Health Organization; 2019.
ณัฐพงศ์ ศรีธรรัตน์กุล, ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, ธนกมณ ลีศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566;17(2):604-17.
Division of Tuberculosis, Department of Disease Control (TH). Thailand operational plan to end tuberculosis 2017-2021. Nonthaburi: Department of Disease Control (TH); 2018.
Division of Tuberculosis, Department of Disease Control (TH). Assessment for quality of tuberculosis prevention and care in prison: QTBP. Nonthaburi: Department of Disease Control (TH); 2020.
Jittimanee S, Ngamtrarai N. Guidelines for accelerating tuberculosis control in prisons in Thailand. 2nd ed. Bangkok: Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control; 2009.
วรวุฒิ แสงเพชร, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันวัณโรคของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดบึงกาฬ ปี พ.ศ. 2560. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561;25(3):99-108.
เจริญศรี แซ่ตั้ง. วัณโรคในผู้ต้องขังเรือนจำในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2562;45(2):149-60.
กิตศราวุฒิ ขวัญชารี, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อในผู้ป่วยเบาหวานของประเทศไทย: การวิเคราะห์เมตา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559;23(3):1-11.
ฐมฤกษ์ แสงเงิน. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคแฝงของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2565;37(4):407-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง