ความสามารถในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานในสถานประกอบการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ความสามารถในการทำงาน, ประสิทธิภาพในการทำงาน, พนักงานตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำงานของพนักงานตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานในสถานประกอบการซึ่งพบการลาออกจากงานสูง เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดใดจุดหนึ่ง วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานในสถานประกอบการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยการสัมภาษณ์พนักงาน จำนวน 100 คน ดำเนินการสำรวจโดยใช้แบบฟอร์มสำรวจของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือรูปแบบใด ๆ โดยก่อนสำรวจได้ชี้แจงกับหัวหน้างาน และอธิบายกับพนักงานตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานในสถานประกอบการทุกคนเข้าใจความหมายและรายละเอียดต่าง ๆ นำข้อมูลระดับคะแนนความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องการ (ระดับปานกลางและต่ำ) ข้อมูลผลตรวจสุขภาพ ข้อมูลการทำงานมาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าคะแนนความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องการ ผลการศึกษา: ระดับความสามารถในการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่พบคะแนนความสามารถในการทำงานที่ต้องการ (ระดับดีและดีมาก) จำนวน 76 คน (ร้อยละ 76) กลุ่มคะแนนความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องการ (ระดับปานกลางและระดับต่ำ) จำนวน 24 คน (ร้อยละ 24) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคะแนนความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องการ อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นทางอาชีวเวชศาสตร์ (Adjusted OR = 4.18, 95% CI: 1.25 - 13.97, p 0.02) และสุขภาพจิตใจ โดยเฉพาะการขาดความสุขและความสนุกในการทำงาน (Adjusted OR = 0.27, 95% CI: 0.09 - 0.8, p<0.019) สรุป: การผิดปกติของการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นทางอาชีวเวชศาสตร์ และปัญหาสุขภาพจิตใจ โดยเฉพาะการขาดความสุขและความสนุกในการทำงานที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับคะแนนความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องการ จึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเกิดโรคและความผิดปกติทางการมองเห็น โดยเฉพาะการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีแสงสว่างที่เหมาะสมและกระบวนการในการทำงานให้มีการพักสายตาเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ เช่น การจัดการความเครียดและการสร้างความสุขในการทำงาน จะทำให้สามารถลดระยะเวลาการเจ็บป่วยของพนักงานและการเกิดพลังความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องการได้ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นของพนักงานต่อไป
References
Kaewdok T, Norkaew S, Sirisawasd S, Choochouy N. Factors influencing work ability among the working-age population in Singburi province, Thailand. Int J Environ Res Public Health 2022;19(10):5935.
Ilmarinen J. Work ability - a comprehensive concept for occupational health research and prevention. Scand J Work Environ Health 2009;35(1):1-5.
ณปภัช นาคเจือทอง. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในเขตอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2553.
Occupational Health and Environment Center Department of Disease Control Ministry of Public Health (TH). Work ability assessment. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2018.
Tuomi K, Ilmarinen J, Jahkola M, Katajarinne L, Tulkki A. Work ability index. 2nded. Helsinki: Finnish Institute of Occupational Health; 2006.
Sunthorntham S. Evidence-based clinical practice guideline: periodic health examination and maintenance in Thailand. 2nd ed. Bangkok: Moh-ChaoBan Foundation; 2001.
Juszczyk G, Czerw AI, Religioni U, Olejniczak D, Walusiak-Skorupa J, Banas T, et al. Work Ability Index (WAI) values in a sample of the working population in Poland. Ann Agric Environ Med 2019;26(1):78–84.
นิภาดา ธารีเพียร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของแรงงานสตรีสูงอายุในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.
สายวรุณ หงส์พนัส, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, เจตน์ รัตนจีนะ. ความสามารถในการทํางานของพนักงานขับรถโดยสารประจําทางสูงอายุในองค์การขนสงมวลชนกรุงเทพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารแพทย์นาวี 2566;50:1–14.
Kaewboonchoo O, Isahak M, Susilowati I, Phuong TN, Morioka I, Harncharoen K, et al. Work ability and its related factors among workers in small and medium enterprises: comparison among four ASEAN countries. Asia Pac J Public Health 2016;28:438-49.
Gonzales AM Jr, Ambong RMA, Bais LS, Macaspac LP. Health-related quality of life and work ability of smallholder rice farm workers in San Jose, Occidental Mindoro, Philippines. Makara J Health Res 2020;24(2):96–103.
Lavasani S, Wahat NW. Work ability index: validation and model comparison of the Malaysian Work Ability index (WAI). Disabil CBR Incl Dev 2016;27(2):37–56.
Varianou-Mikellidou C, Boustras G, Nicolaidou O, Dimopoulos C, Anyfantis I, Messios P. Work-related factors and individual characteristics affecting work ability of different age groups. Saf Sci 2020;128:104755.
สุพาพร แสนศรี, กฤษณ์ พัชนี, ณัฎฐาณิชา หมื่นหาวงษ์. สมรรถภาพการมองเห็นด้านอาชีวอนามัยของแรงงานนอกระบบกลุ่มถักวิกผม. วารสารวิชาการสำนักงานควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2563;26(3):5-14.
ฌาน ปัทมะ พลยง, พิมพร พลดงนอก, ศิราณี เย็นใจ. การทดสอบสมรรถภาพร่างกายในงานอาชีวอนามัยของกลุ่มอาชีพชาวนา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2559;16(2):119–37.
ดวงมณี ทองงาม. ภาวะเสี่ยงจากการทำงานและสุขภาพของกลุ่มแรงงานนอกระบบตำบลบ้านเลือก : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ราชบุรี: โรงพยาบาลโพธาราม; 2552.
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, สมบูรณ์ ปัญญากรณ์. จะทำอย่างไรเมื่อผลตรวจสายตาอาชีวอนามัยออกมาผิดปกติ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.summacheeva.org/article/vision
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. แสงสว่างในที่ทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://qrcd.org/7Pl8
จุฑารัตน์ ทางธรรม. ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2558.
Mazloumi A, Rostamabadi A, Nasl Saraji G, Rahimi Foroushani A. Work ability index (WAI) and its association with psychosocial factors in one of the petrochemical industries in Iran. J Occup Health 2012;54:112–18.
Pisanti R, van der Doef M, Maes S, Meier LL, Lazzari D, Violani C. How changes in psychosocial job characteristics impact burnout in nurses: a longitudinal analysis. Front Psychol 2016;26:1082.
Rothmore P, Gray J. Using the work ability index to identify workplace hazards. Work 2019;62(2):251-59.
Hirapara S, Vishal K, Girish N. Regression model for predicting low work ability among sedentary aging workers. Work 2021;70(3):967-72.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง