พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • จันทร์ธรา สมตัว ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, การส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่น วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาครั้งนี้ คือ วัยรุ่น อายุ 19 - 24 ปี ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในปีการศึกษา 2567 ขอบเขตระยะเวลาดำเนินการ เดือนมิถุนายน ถึง กันยายน 2567 ผลการศึกษา: พฤติกรรมในการเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มีความถี่ 10 ครั้งขึ้นไป/วัน ร้อยละ 40.00 ระยะเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉลี่ย 1 - 2 ชั่วโมง/วัน/ครั้ง ร้อยละ 95.00 สถานที่เข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยมากที่สุดร้อยละ 46.75 โดยส่วนใหญ่เข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ช่วงเวลา 12.01 น. - 16.00 น. ร้อยละ 32.50 และใช้อุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟนในการเข้าใช้งาน การส่งเสริมสุขภาพ พบว่า พฤติกรรมทั้ง 6 ด้านของวัยรุ่นภาพรวมอยู่ ในระดับมาก (Mean =2.18, SD=0.52 ด้านการจัดการกับความเครียดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=2.79, SD=0.52) รองลงมาคือด้านการออกกำลังกาย (Mean=2.25, SD=0.53) และด้านโภชนาการ (Mean=2.15, SD=.52) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( Mean=1.85, SD=0.51) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่น มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่นควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยพิ จารณาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ ช่องทางการเข้าถึง ระยะเวลา และรูปแบบที่วัยรุ่นให้ความสนใจเพื่อประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน

References

Mangiduyos GP, Subia GS. Twenty-First (21st) Century Skills of College of Education Alumni. Open Journal of Social Sciences 2021;9:330-7.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์, วรางคณา อุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560;28(1):122–8.

พีรวิชญ์ คำเจริญ, วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลและทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2563;8(1):54–66.

ภรภัทร ธัญญเจริญ. พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2564.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. การส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 2564;7(1):21–9.

รตนดา อาจวิชัย, วิมล เขตตะ, เกียรติศักดิ์ อ่อนตามา. ผลการใช้สื่อใหม่แบบ Digital Content ที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสารของวัยรุ่นไทยต่อสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 2562;6(1):213–22.

Chen J, Wang Y. Social media use for health purposes: systematic review. J Med Internet Res 2021;23(5):e17917:1-16.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานประจำปี 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 มิ.ย.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/e-book/รายงานประจำปี-2565-สำนักงาน/

ศรีประภา ชัยสินธพ. สภาพจิตใจของวัยรุ่น [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06062014-0847

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(2):132-41.

Lenz B. The transition from adolescence to young adulthood: a theoretical perspective. J Sch Nurs 2002;17(6):300-6.

พัชรพล ประชุมชนะ, สถาปัตย์ มูละ. การผลิตสื่อเพื่อรณรงค์และป้องกันการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [วิทยานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา; 2563.

ภัทรวรรณ แป้งอ่อน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการป้องกันและระงับอัคคีภัยของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกระบี่. วารสารกระบี่เวชสาร 2021;4(2):37–47.

McCashin D, Murphy CM. Using TikTok for public and youth mental health – a systematic review and content analysis. Clin Child Psychol Psychiatry 2022;28(1):279-306.

ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด, ปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์. ผลกระทบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัยรุ่นในพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา 2564;13(1):119-37.

ณิชกุล เสนาวงษ์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม; 2564.

สุริยา ฟองเกิด, สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา, มนทรา ตั้งจิรวัฒนา, สิบตระกูล ตันตลานุกูล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27:196-209.

Wojtowicz A, Buckley GJ, Galea S, editors. Social media and adolescent health. Washington, DC: National Academies Press; 2024.

อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์, จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี, ศุภศักดิ์ วงษ์อินทร์จันทร์, สุรีพร เกียรติวงศ์ครู, สุจิตรา คงกันกง. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อออนไลน์กับปัญหาสุขภาพองค์รวมของเด็กวัยเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2565;42(1):61-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

1.
สมตัว จ. พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่น. JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 2 เมษายน 2025];14(3):514-27. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/273763