ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส. และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • ศศิมา วัฒนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • นภัสสร ยอดทองดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ยุทธนา นุ่นละออง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ปิยะพร ใจแสน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส.และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่เสี่ยงโรคเบาหวาน ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  โดยใช้กรอบแนวคิดของความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีมในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และกำหนดลักษณะของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละเท่า ๆกัน กลุ่มทดลองจะได้รับการดูแลตามโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 6 สัปดาห์และประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส. และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่เสี่ยงโรคเบาหวานก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยายและIndependent Sample t-test ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส. และความรอบรู้ด้านสุขภาพมากว่ากลุ่มควบคุมและหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป: การจัดการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ตอบสนองกับสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงนั้นทำให้ผู้ที่เสี่ยงโรคเบาหวานมีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น  จึงเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ นำโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจากการศึกษาครั้งนี้ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงโรคเบาหวานให้มีสุขภาพที่ดี

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุก ๆ 5 วินาที [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 11 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/Q162q

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop. go.th/th/know/side/1/1/2449

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรม อ. เผย ผู้สูงวัยป่วยเบาหวานเป็นอันดับ 2 รองจากความดันแนะคุมอาหาร – น้ำตาล – ออกกำลังกาย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/141165

นสหชม เอโหย่, วิภาพร สิทธิสาตร์, สุรีรัตน์ วิเชียร. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิด สบช โมเดลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสมอแข อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี 2565;5(2):129-33.

วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม, วรัญญา สุขวงศ์, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, อัจฉรา ตันหนึ่ง, รุ่งนภา คำผาง และคณะ. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2562. นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. รายงานประจำปี 2566. ชัยนาท: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท; 2567.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรคและ ภัยสุขภาพ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008;67(12):2072-78.

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, วัชรีวงศ์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(3):419-29.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15- 59 ปี สำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนในสถานศึกษาอายุ 7-14 ปี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2559.

พรวิจิตร ปานนาค, สุทธิพร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;24(3):91-106.

Masters K. Edgar Dale’s Pyramid of Learning in medical education: a literature review. Med Teach 2013;35(11):1584-93.

ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563;13(3):56-68.

บุญญธิดา ยาอินทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสวรรค์ประชารักษ์เวชศาสตร์ 2564;18(1):35-48.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, รวีวรรณ แก้วอยู่, รุ่งนภา จันทรา, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวน ศรีเจริญ, เพชรรุ่ง เดชบุญญจิตต์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี 2566;17(3):40-53.

Jafari A, Zadehahmad Z, Armanmehr V, Talebi M, Tehrani H. The evaluation of the role of diabetes health literacy and health locus of control on quality of life among type 2 diabetes using the Path analysis. Sci Rep 2023;13(1):5447.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

1.
วัฒนา ศ, ยอดทองดี น, นุ่นละออง ย, ใจแสน ป. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส. และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. JPMAT [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 2 เมษายน 2025];14(3):472-83. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/273260