การศึกษาระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการถูกตัดเท้าหรือขา ของผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้าในโรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
ระบาดวิทยา, แผลเบาหวานที่เท้า, การตัดเท้าหรือขา, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการถูกตัดเท้าหรือขาของผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้าในโรงพยาบาลบ้านหมี่ วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง ของผู้ป่วยจำนวน 233 คน ที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้าตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2566 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน ผลการตรวจเลือด และทำการแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้การตัดเท้าหรือขาเป็นตัวแบ่ง เพื่อหาสาเหตุ ระดับการผ่าตัด ระยะเวลานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายทางตรง และสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่ถูกตัดเท้าหรือขา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการถูกตัดเท้าหรือขา กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้าที่มารับการตรวจรักษาจำนวน 233 คน เป็นผู้ป่วยที่ถูกตัดเท้าหรือขาจำนวน 97 คน (41.63%) ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปีจำนวน 37 คน (38.1%) สาเหตูที่พบบ่อยเกิดจากการขาดเลือดมาเลี้ยงร่วมกับการติดเชื้อ 49 คน (50.5%) ระดับนิ้วเท้าเป็นระดับที่ถูกตัดมากที่สุดจำนวน 85 คน (87.6%) ระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 13 วัน มีค่าใช้จ่ายทางตรง 17,426.50 บาท และส่วนใหญ่ใช้สิทธิรักษาบัตรทอง ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการถูกตัดเท้าหรือขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มีประวัติเคยถูกตัดเท้ามาก่อน(OR=9.17, 95%CI= 3.755-22.415)ภาวะเม็ดเลือดขาวสูง(OR=5.21, 95%CI= 2.252-12.053) ภาวะโลหิตจาง(OR=8.42, 95%CI= 1.914-37.056) ระดับน้ำตาลในเลือดสูง(OR=5.87, 95%CI= 1.893-18.170) ระดับน้ำตาลสะสมสูง(OR=3.05, 95%CI= 1.092-8.530) และการติดเชื้อในกระดูก (OR=25.05, 95%CI= 5.925-105.89) สรุป: ภาวะแผลเบาหวานที่เท้าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นสาเหตุหลักของการถูกตัดเท้าหรือขาในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้นการวางแนวทางป้องกันและการตรวจคัดกรองแผลที่เท้าจากเบาหวานในระยะเริ่มแรกโดยการดูแลของสหสาขาวิชาชีพ และการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงจะเป็นประโยชน์เละสามารถลดอัตราการถูกตัดเท้าหรือขาในผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้าได้
References
Junrungsee S, Kosachunhanun N, Wongthanee A, Rerkasem K. History of foot ulcers increases mortality among patients with diabetes in Northern Thailand. Diabetic Med 2011;28(5):608-611.
Ogurtsova K, Fernandes JD, Huang Y, Linnenkamp U, Guariguata L, Cho NH, Canva D, et al. IDF Diabetes Atlas: Global estimates for the prevalence of diabetes for 2015 and 2040. Diabetes Res Clin Pract 2017;128:40–50.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานการพัฒนาคุณภาพการบริการในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Clip) “การให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแล โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง” [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2565]. เข้าถึงจาก: https://shorturl.at/NJeP2
Leelawattana R, Pratipanawatr T, Bunnag P, Kosachunhanun N, Suwanwalaikorn S, Krittiyawong S, at el. Thailand diabetes registry project: prevalence of vascular complications in long-standing type 2 diabetes. J Med Assoc Thai 2006;89(1):54-9.
World Health Organization. Diabetes [internet]. 2024 [cited 2024 Apr 1]. Available from: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/diabetes
McDermott K, Fang M, Boulton AJM, Selvin E, Hicks CW. Etiology, Epidemiology, and Disparities in the Burden of Diabetic Foot Ulcers. Diabetes Care 2023;46(1):209-21.
Lin C, Liu J, Sun H. Risk factors for lower extremity amputation in patients with diabetic foot ulcers: a meta-analysis. PloS One 2020;15(9):e0239236.
Moss SE, Klein R, Klein BEK. The prevalence and incidence of lower extremities amputation in a diabetic population. Arch Intern Med 1992;152(3):610-6.
Centers for Disease Control and Prevention. Diabetes Program – Data & Trend – Hospitalizations for Lower Extremity Conditions. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention; 2005.
Vichayanrat A, Lueseangdang L, Pitmana-aree S. Diabetic foot ulcer. Siriraj Hosp Gaz 1979;31:883-97.
วิลาวัณย์ ถิรภัทรพงศ์, กุลภา ศรีสวัสดิ์. การศึกษาระบาดวิทยาและค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ถูกตัดเท้าหรือขาเนื่องจากเบาหวาน ณ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารเวชศาสตร์ฟื้นฟูไทย 2551;18(2):65-9.
Rerkasem K, Kosachunhanun N, Tongprasert S, Khwanngern K, Matanasarawoot K, Thongchai C, et al. The development and application of Diabetic Foot Protocol in Chiang Mai University Hospital with an Aim to reduce Lower Extremity Amputation in Thai Population: A Preliminary Communication. Int J Low Extrem Wounds 2007;6(1):18-21.
มัทนา สารีคำ, กุลนาถ มากบุญ. ผลการดูแลผู้ป่วยคลินิกเท้าเบาหวานในกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2064;14(3):246-59.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ: การป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า (Clinical Practice Guideline: Prevention and management of Diabetic Foot Complications). นนทบุรี: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2558.
Reiber GE. Epidemiology of foot ulcers and amputations in the diabetic foot. The diabetic foot, 2001.
Lu Q, Wang J, Wei X, Wang G, Xu Y. Risk factors for major amputation in diabetic foot ulcer patients. Diabetes Metab Syndr Obes 2021;14:2019-27.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง