ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, การรักษาทันเวลา, ระดับความรุนแรงอาการบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันโรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบการศึกษาย้อนหลัง (retrospective analytic study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันของโรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยมีกลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่ห้องตรวจผู้ป่วยฉุกเฉินและห้องตรวจผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 โดยกลุ่มตัวอย่าง 212 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 106 รายและกลุ่มควบคุม 106 ราย ผลการศึกษา: การวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร (multivariate analysis) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการทำนายการมารักษาทันเวลาภายใน 3 ชั่วโมงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ได้แก่ ปัจจัยการมีโรคหลอดเลือดสมอง (ORadj = 0.02, 95% CI: 0.00-0.25) ปัจจัยการมีโรคหัวใจ (ORadj = 20.18, 95% CI: 2.46-165.61) ปัจจัยการมีระดับอาการที่รุนแรงมาก (GCS ≤ 8) (ORadj = 0.12, 95% CI: 1.17-26.14) สรุป: การรักษาทันเวลาของโรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้สามารถเข้ารับการรักษาทันเวลา รวมถึงการให้ความรู้และความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการหรืออาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันจึงมีความสำคัญ เพื่อป้องกันอัตราการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพแก่ประชาชน
References
World Stroke Organization. Global stroke fact sheet 2022 [Internet]. 2023 [cited 2023 Aug 12]. Available from: https://www.world-stroke.org/assets/downloads/WSO_Global_Stroke_Fact_Sheet.pdf
World Health Organization. World health statistics 2024: monitoring health for the Sustainable Development Goals (SDGs). Geneva: World Health Organization; 2024.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานการศึกษาสถานการณ์บริการการแพทย์ฉุกเฉินและการพัฒนาคุณภาพปฏิบัติการฉุกเฉินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ 2566. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://qrcd.org/7PlZ
สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2566;39(2):39-46.
กรมการแพทย์. เลือดออกในสมองจากหลอดเลือดสมองแตกอันตรายถึงตาย [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=49899
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราอุบัติใหม่ของโรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://qrcd.org/7Pld
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke): ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2564.
อารยา พิทักษ์โรจนานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2567;8(16):185-97.
Lacy CR, Suh DC, Bueno M, Kostis JB. Delay in presentation and evaluation for acute stroke: stroke time registry for outcomes knowledge and epidemiology (S.T.R.O.K.E.). Stroke 2001;32(1):63-9.
Wannarong T, Chotik-Anuchit S, Nilanont Y. Factors associated with hospital arrival time in acute stroke. J Med Assoc Thai 2019;102(5):547-53.
Kim YS, Park SS, Bae HJ, Cho AH, Cho YJ, Han MK, et al. Stroke awareness decreases prehospital delay after acute ischemic stroke in Korea. BMC Neurol 2011;11:2.
Derex L, Adeleine P, Nighoghossian N, Honnorat J, Trouillas P. Factors influencing early admission in a French stroke unit. Stroke 2002;33(1):153-9.
พัชราภรณ์ ปินตา. ปัจจัยทำนายการมารักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2564;4(3):46-58.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง