ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะประชากรและเศรษฐานะทางสังคมกับอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน: การศึกษาติดตามระยะยาวย้อนหลังระดับประเทศ
คำสำคัญ:
อุบัติการณ์, เบาหวาน, ลักษณะประชากรและเศรษฐานะทางสังคม, ประเทศไทยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานในประชากรไทยและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะประชากรและเศรษฐานะทางสังคมกับการเกิดโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานอายุ 20 ปีขึ้นไปจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 และใช้บริการสาธารณสุขกับสถานพยาบาลที่ส่งข้อมูลให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการเกิดโรคเบาหวานด้วย Cox proportional hazards model วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 10,203 คนแบ่งตามระดับน้ำตาลในเลือด ณ จุดเริ่มต้นการติดตามออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 2. ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน และ 3. ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน จำนวนทั้งสิ้น 7,482 2,185 และ 536 คน ตามลำดับ การติดตามระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง 2563 เป็นระยะเวลา 7 ปี ผลการศึกษา: มีการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จำนวน 769 คน คิดเป็นอุบัติการณ์หลังปรับอายุมาตรฐานอยู่ที่ 10.6 (95% CI 9.8-11.4) ต่อ 1 พันประชากร-ปี ปัจจัยทางด้านลักษณะทางประชากรและเศรษฐานะทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ การอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ (adjusted HR 0.74, p=0.02 Ref: ภาคกลาง) และ ระดับการศึกษา (adjusted HR 0.69, p=0.01; 0.74, p=0.01; และ 0.70, p=0.04 สำหรับผู้ที่จบระดับการศึกษาระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย และ ปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ Ref: ระดับประถมศึกษา) สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคใต้และผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมต้นขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานน้อยกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคอื่นและผู้ที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาลงไป ตามลำดับ
References
World Health Organization. Global report on diabetes [Internet]. 2016 [cited 2024 Jun 7]. Available from: https://shorturl.asia/5gkfC
Guariguata L, Whiting DR, Hambleton I, Beagley J, Linnenkamp U, Shaw JE. Global estimates of diabetes prevalence for 2013 and projections for 2035. Diabetes Res Clin Pract. 2014 ;103(2):137–49.
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 8th ed. Brussels: International Diabetes Federation; 2017.
วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2554.
วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
United Nations. World Population Prospects 2022: Summary of results. New York: United Nations; 2022.
Emerging Risk Factors Collaboration. Diabetes mellitus, fasting blood glucose concentration, and risk of vascular disease: a collaborative meta-analysis of 102 prospective studies. Lancet 2010;375(9733):2215–22.
Paengsai N, Jourdain G, Chaiwarith R, Tantraworasin A, Bowonwatanuwong C, Bhakeecheep S, et al. Incidence and clinical outcomes of diabetes mellitus in HIV-infected adults in Thailand: a retrospective cohort study. BMC Public Health 2018;18(1079):1-10.
Kittithaworn A, Dy R, Hatthachote P, Rangsin R, Mungthin M, Narindrarangkura P, et al. Incidence and associated factors of type 2 diabetes: a community-based cohort study in the central region of rural community in Thailand. Asia Pac J Public Health 2019;31(1):72–83.
Jiamjarasrangsi W, Aekplakorn W. Incidence and predictors of type 2 diabetes among professional and office workers in Bangkok, Thailand. J Med Assoc Thai 2005;88(12):1896-904.
Charoensri S, Turnsaket S, Pongchaiyakul C. Hypertriglyceridemia as an independent predictor for ten-year incidence of diabetes in Thais. Vasc Health Risk Manag 2021;17:519–25.
Papier K, Jordan S, D‘Este C, Bain C, Peungson J, Banwell C, et al. Incidence and risk factors for type 2 diabetes mellitus in transitional Thailand: results from the Thai cohort study. BMJ Open 2016;6(12):e014102.
SDG Move Team. SDG Insights คนจนในกรุงเทพฯ และโอกาสทางสุขภาพ: การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2022 [เข้าถึงเมื่อ 4 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sdgmove.com/2022/05/21/sdg-insights-primary-care-accessibility-in-bangkok/
วิชัย เอกพลากร, ลัดดา เหมาะสุวรรณ, นิชรา เรืองดารกานนท์, วราภรณ์ เสถียรนพเกล้า, หทัยชนก พรรคเจริญ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 ต.ค. 2567]. เข้าถึงจาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากรในปีงบประมาณ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 ต.ค. 2567]. เข้าถึงจาก: https://shorturl.asia/g2YQx
Hill-Briggs F, Adler NE, Berkowitz SA, Chin MH, Gary-Webb TL, Navas-Acien A, et al. Social determinants of health and diabetes: a scientific review. Diabetes Care 2020;44:258–79.
van der Heide I, Wang J, Droomers M, Spreeuwenberg P, Rademakers J, Uiters E. The relationship between health, education, and health literacy: results from the Dutch Adult Literacy and Life Skills Survey. J Health Commun 2013;18:172–84.
Kuddus MA, Tynan E, McBryde E. Urbanization: a problem for the rich and the poor? Public Health Rev 2020;41(1):1-4.
Hyun MK, Park JH, Kim KH, Ahn SK, Ji SM. Incidence and risk factors for progression to diabetes mellitus: a retrospective cohort study. Int J Environ Res Public Health 202123;19(1):123.
Kim MJ, Lim NK, Choi SJ, Park HY. Hypertension is an independent risk factor for type 2 diabetes: the Korean genome and epidemiology study. Hypertension Research 2015;38:783-89.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ถือเป็นผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง