ความชุกของภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ประวีณ ตัณฑประภา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • อังคณา วินัยชาติศักดิ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความชุก, ภาวะโลหิตจาง, ผู้ป่วยเด็ก

บทคัดย่อ

ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา  นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในห้าอันดับแรก ที่ส่งผลต่อสุขภาวะของเด็กไทย ที่ส่งผลกระทบต่อความคิด ความจำ ระบบภูมิคุ้มกันและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและสาเหตุของภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการศึกษา: ศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา ผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565 ไม่รวมผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ต้องมีการรับเลือดเป็นประจำ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เก็บรวมรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย เพศ อายุ ความเจ็บป่วย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมีเกณฑ์ภาวะโลหิตจางคือค่า ฮีโมโกลบินน้อยกว่า 11 กรัม/ดล. ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษานี้ 174 ราย มีความชุกของภาวะโลหิตจางร้อยละ 36.2  พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ อายุ 6-12 เดือนร้อยละ 27 รองมาคือช่วงอายุ 12-24 เดือน ร้อยละ 25.4  อาการที่นำมาโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นระบบทางเดินหายใจ โดยมีความรุนแรงของภาวะโลหิตจางระดับน้อย ร้อยละ 63.5 ระดับปานกลางร้อยละ 31.7 และระดับรุนแรงมากร้อยละ 4.8  ตามลำดับ  ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจหาสาเหตุพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กร้อยละ 73 เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอ ไม่ครบถ้วนเหมาะสม ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กจำนวนน้อย และกินไม่สม่ำเสมอ สรุป: ความชุกของภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในการศึกษานี้สูงถึงร้อยละ 36.2 ซึ่งจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับปานกลางของประเทศ  และยังสูงกว่าเป้าหมายของประเทศที่ต้องการลดความชุกของภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียนให้ต่ำกว่าร้อยละ 10    สาเหตุส่วนใหญ่ยังเป็นปัญหาจากการขาดธาตุเหล็ก  ดังนั้นการแก้ไขควรเพิ่มการรณรงค์เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม  และปรับนโยบายป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเพิ่มปริมาณยาน้ำเสริมธาตุเหล็กที่ให้ในเด็กกลุ่มนี้ เป็น  1-2 มก./กก./วัน แทนการให้แบบเดิมที่ให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย  มีความสม่ำเสมอในการให้ยา และมีประสิทธิภาพมากขึ้น  รวมถึงการเสริมธาตุเหล็กในอาหารบางชนิดที่ทำได้  จะเป็นส่วนที่ทำให้ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กลดลงได้ นอกจากนี้ควรขยายการศึกษาในโรงพยาบาลอื่นๆ เพื่อสะท้อนภาพปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ประกอบการทำแผนพัฒนาต่อไป

References

World Health Organization. A guide for programme managers. Geneva: World Health Organization; 2001.

World Health Organization. Prevalence of anaemia in children under 5 year [Internet]. 2020 [cited 2023 Jul 22]. Available from: https://www.who.int/data/gho/data/indicators/indicator-details/GHO/prevalence-of-anaemia-in-children-under-5-years-(-)

Lozoff B, Jimenez E, Wolf AW. Long-term developmental outcome of infants with iron deficiency. N Engl J Med 1991;325(10):687-94.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2560.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจาง [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/download/?did=194488&id=82485&reload=

Apikulchatkit Y. Prevalence of anemia and effectiveness of weekly iron supplementation in the prevention of anemia among infants aged 9-12 months in well baby clinic, Police General Hospital. JOPN 2020;12(1):161-70.

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. กำหนดการดูแลสุขภาพเด็กไทย. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2557.

Santos RF, Gonzalez ESC, Albuquerque EC, Arruda IKG, Diniz AS, Figueroa JN, et al. Prevalence of anemia in under five-year-old children in a children’s hospital in Recife, Brazil. Rev Bras Hematol Hemoter 2011;33(2):100-4.

Simbauranga RH, Kamugisha E, Hokororo A, Kidenya BR, Makani J. Prevalence and factors associated with severe anaemia among under-five children hospitalized at Bugando Medical Centre, Mwanza, Tanzania. BMC Hematol 2015;15:13.

Muthusamy BG, Venugopal V, Sumitra S. Prevalence of anaemia among the hospitalized children in a rural tertiary care teaching hospital. Int j Contemp Pediatr 2017;4(2):431-7.

Salami A, Bahmad HF, Ghssein G, Salloum L, Fakih H. Prevalence of anemia among Lebanese hospitalized children: Risk and protective factors. PLoS One 2018;13(8):e0201806.

Souvanlasy B, Wiangnon S, Jetsrisuparb A, Fucharoen G. Iron deficiency anemia among hospitalized children with microcytic anemia hospitalized in national children’s hospital in Vientiane, Lao PDR. J Hematol Transfus Med 2019;29(1):35-46.

Gursoy I, Turkkan E, Dag H. Evaluation of anemia frequency and etiologies in hospitalized patients in a tertiary pediatrics clinic. Med Sci and Dis 2021;8(12):696-702.

World Health Organization. The global prevalence of anaemia in, 2011 [Internet]. 2016 [cited 2023 Jul 22]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/177094/ 9789241564960_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Enawgaw B, Workineh Y, Tadesse S, Mekuria E, Addisu A, Genetu M. Prevalence of anemia and associated factors among hospitalized children attending the University of Gondar Hospital, Northwest Ethiopia. EJIFCC 2019;30(1):35-47.

Ughasoro MD, Emodi IJ, Okafor HU, Ibe BC. Prevalence of moderate and severe anaemia in children under 5 in University of Negeria Teaching Hospital Enugu, Southeast Nigeria. Pediatr Res 2011;70(S5):489-9.

Saba F, Poornima S, Balaji PAR, Varne SRR, Jayashree K. Anemia among hospitalized children at a Multispecialty Hospital, Bangalore (Karnataka), India. J Fam Med Prim Care 2014;3(1):48-53.

World Health Organization. Worldwide prevalence of anaemia 1993-2005: WHO global database on anaemia [Internet]. 2008 [cited 2023 Jul 22]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43894/9789241596657_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Zuffo CRK, Osorio MM, Taconili CA, Schmidt ST, Silva BHC. Prevalence and risk factors of anemia in children. J Pediatr (Rio J) 2016;92(4):353-60.

Angeles IT, Schultink WJ, Matulessi P, Gross R, Sastroamidjojo A. Decreased rate of stunting among anemic Indonesian preschool children through iron supplementation. Am J Clin Nutr 1993;58(3):339-34.

Baker RD, Greer FR, Committee on Nutrition American Academy of Pediatrics. Diagnosis and prevention of iron deficiency and iron-deficiency anemia in infants and young children (0-3 years of age). Pediatrics 2010;126(5):1040-50.

สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. Iron deficiency anemia. ใน: กิตติ ต่อจรัส, พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการรักษาภาวะโลหิตจางและธาลัสซีเมีย: กรุงเทพฯ: สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย; 2562. หน้า 39-46.

กมล เผือกเพ็ชร. การคัดกรองภาวะโลหิตจาง ใน: พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, วินัดดา ปิยะศิลป์, วันดี นิงสานนท์ ประสบศรี อึ้งถาวร, บรรณาธิการ. Guideline in child health supervision. กรุงเทพฯ : สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2557. หน้า 152-60.

ชาญชัย ไตรวารี. ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2562;29(1):5-7.

American Academy of Pediatrics Committee on Nutrition: the use of whole cow’s milk in infancy. Pediatrics 1992;89(6 Pt 1):1105-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31